Page 61 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 61
ส่วนต�าแหน่งอื่นอีก ๓ ต�าแหน่งนั้น ได้แก่
๑. ปลัดจางวาง ได้แก่ หลวงธรรมการาจารย์
๒. ผู้ช่วย ได้แก่ ขุนซุกซนสังฆาธิกรณ์ (ราชทินนามบรรดาศักดิ์นี้ต่อมาเปลี่ยนเป็น
ขุนพิสนท์สังฆกิจ)
๓. จางวางกรมธรรมการ พระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีศรีศุภราชพิริยพาหะ
(เปลี่ยนเป็นพระธรรมการบดีศรีวิสุทธิศาสนวโรประการ)
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรัชสมัยของการปฏิรูป
การเศรษฐกิจและสังคมครั้งแรกของเมืองไทยที่ปวงชนได้รับผลของการปรับปรุงจากพระบารมี
มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ งานด้านพระศาสนาก็ได้รับการปรับปรุงด้วย พระองค์ทรงมุ่งหวังที่จะ
เร่งรัดปรับปรุงการศึกษาของประชาชนให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้น
ให้แพร่หลาย แต่รากฐานการศึกษาของไทยนั้นมาจากวัดและพระสงฆ์ เมื่อต้องการที่จะปรับปรุง
การศึกษาของประชาชนจึงจ�าเป็นต้องปรับปรุงงานของคณะสงฆ์ควบคู่กันไปด้วย จนถึงกับ
มีกระแสพระราชด�ารัสว่า
โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้น มีกิจเกี่ยวข้องด้วยพระอารามและพระสงฆ์มากอยู ควรจะได้
รวมงานที่เกี่ยวข้องมาอยูในบังคับเดียวกัน
ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ จึงให้รวมกรมหลายกรมที่เกี่ยวกับงานการจัดการศึกษา
และงานที่เกี่ยวกับพระศาสนามาอยู่กรมเดียวกัน โปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่า กรมธรรมการ
(มีฐานะเท่ากระทรวงแต่สมัยนั้นเรียกว่ากรม) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมายอ�านาจหน้าที่
ให้กรมธรรมการ ดังนี้
เปนพนักงานที่จะบังคับบัญชาเกี่ยวข้องในพระสงฆ์ ต�าแหนงที่พระยาพระเสด็จ
และเปนผู้บังคับการโรงเรียนและโรงพยาบาลทั่วราชอาณาเขต
กรมสังฆการีธรรมการย้ายมาอยู่ในสังกัดกรมธรรมการโดยกลับชื่อเสียใหม่ว่า
กรมธรรมการสังฆการี
54
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐