Page 64 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 64
กรมสังฆการี มีหน้าที่
๑. ส�ารวจและท�าบัญชีพระภิกษุสามเณรโดยแยกเป็นมณฑล ตามวุฒิ และสมณศักดิ์
๒. จัดการบรรพชาอุปสมบท แต่งตั้งพระสังฆาธิการและพระสมณศักดิ์ พระอุปัชฌาย์
การสอบไล่พระปริยัติธรรม การตั้งไวยาวัจกร และการพระราชกุศล
๓. ควบคุมและปราบปรามอลัชชีภิกษุ ตลอดจนตรวจการปกครองคณะสงฆ์
๔. ตรวจบัญชีพระสงฆ์ให้ถูกต้อง ตรวจเหตุการณ์ซึ่งจะท�าความมัวหมองให้แก่คณะสงฆ์
ตรวจการปกครองเพื่อให้รู้ความเจริญและความเสื่อมแห่งคณะสงฆ์
กรมธรรมการ มีหน้าที่
๑. ส�ารวจจัดท�าบัญชีวัด แยกเป็นประเภทวัดหลวง วัดราษฎร์ และวัดร้างทั่วราชอาณาจักร
๒. ควบคุมการตรวจสอบการสร้างวัด รวมทั้งการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา
๓. จัดการท�านุบ�ารุงวัดและจัดการเกี่ยวกับศาสนสมบัติ
เมื่อได้มีการปรับปรุงกระทรวงธรรมการในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชด�ารัสว่า หน้าที่ของกระทรวงนั้นควรจะมีอยู่ ๒ อย่าง คือ หน้าที่จัดการศึกษา
ให้แก่ปวงชน และดูแลส่งเสริมการพระศาสนาเท่านั้น การจัดระบบบริหารและมอบหมายหน้าที่
การงานก็ควรจะเป็นไปตามหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดแบ่งส่วนราชการและหน้าที่การงานในกระทรวงธรรมการเสียใหม่ ดังนี้
กระทรวงธรรมการ
กรมกลาง กรมธรรมการ กรมศึกษาธิการ
กองบัญชาการ กรมสังฆการี กรมพระอาราม กองอธิกรณ์
ส�าหรับการพระอารามตามจังหวัดชั้นนอกในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นปีแรกที่โปรดเกล้าฯ
ให้จัดข้าราชการส่วนภูมิภาคของกระทรวงธรรมการเป็นเจ้าหน้าที่ฝายการศาสนาสมทบกับ
การศึกษา และในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อกรมพระอารามเป็นกรมกัลปนา ต่อมา
ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงด�าริว่า
“ ราชการของกระทรวงธรรมการ และกรมศึกษาธิการนั้น ตางชนิดกันทีเดียว
ยากที่จะเลือกหาเจ้ากระทรวงผู้สามารถบัญชาการได้ดีทั้ง ๒ กรม คงได้ทางหนึ่ง เสียทางหนึ่ง
มีพระบรมราชประสงค์จะให้ราชการเปนไปสะดวก ทั้งจะให้สมแกทรงเปนพุทธศาสนูปถัมภก
โดยตรง จึงมีพระบรมราชโองการด�ารัสเหนือเกล้าให้ย้ายกรมธรรมการมารวมอยูในพระราชส�านัก
ตามประเพณีเดิม สวนกระทรวงธรรมการให้เรียกวา กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่จัดการศึกษา”
57
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐