Page 63 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 63
ด้วยเหตุทั้งสองประการดังกล่าวแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศตั้ง
กรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ และให้แบ่งงาน
ในกระทรวงธรรมการ ดังนี้
พระมหากษัตริย์
กระทรวงธรรมการ
กรมธรรมการกลาง กรมศึกษาธิการ กรมพยาบาล กรมพิพิธภัณฑ์ กรมสังฆการี
การปรับปรุงกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการครั้งนี้ เป็นการยกฐานะกรม
ซึ่งมีงานมากขึ้นเป็นกระทรวงตามพระราชประสงค์และตัดเอากรมแผนที่ซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการศึกษามากนักออกไปสังกัดอื่น ส่วนงานหลักของกรมใดที่เคยท�าอยู่ก่อนก็ให้ท�าต่อไป
กรมธรรมการสังฆการีได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมสังฆการี ดังนั้น งานของกรมสังฆการีจึงเป็นงาน
ที่มาจากงานของกรมธรรมการสังฆการีเดิมนั่นเองจะมีเปลี่ยนแปลงก็แต่เฉพาะขยายปริมาณงาน
ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ กว้างขวางออกไปเท่านั้น
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ฐานะของกรมการศาสนาซึ่งอยู่ในนามกรมสังฆการีมาแต่สมัยรัชกาล
ที่ ๕ นั้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงขึ้นอีก ๓ ครั้ง คือ
ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ อันเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า หน้าที่ราชการ
ในกระทรวงธรรมการแต่เดิมมีกรมขึ้นใหญ่บ้าง เล็กบ้าง มีกิจการต้องท�าไม่สมส่วนกัน จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบใหม่ออกเป็น ๕ กรม คือ กรมกลางหรือแผนกบัญชาการ ๑
กรมสังฆการี ๑ กรมธรรมการ ๑ กรมราชบัณฑิตย์ ๑ กรมศึกษาธิการ ๑ โดยแยกกรมธรรมการ
สังฆการีออกเป็น ๒ กรม คือ กรมสังฆการี กับ กรมธรรมการ
พระมหากษัตริย์
กระทรวงธรรมการ
แผนกบัญชาการ กรมสังฆการี กรมธรรมการ กรมราชบัณฑิตย์ กรมศึกษาธิการ
56
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐