Page 58 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 58

พระมหากษัตริย์



                        กรมธรรมการ                      กรมสังฆการี                  กรมราชบัณฑิตย์


                     มีหน้าที่                    มีหน้าที่                   มีหน้าที่
                     รับภาระในการพิจารณา          เป็นเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ    เป็นเจ้าพนักงานบอก
                     พิพากษาคดีที่พระภิกษุ        พิธีสงฆ์ทั้งปวง             หนังสือพระภิกษุสามเณร
                     สามเณรกระท�ากับ                                          รวมทั้งการแปล
                     ฆราวาส                                                   พระปริยัติธรรม




                            ภารกิจด้านการพระศาสนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ
                   ที่ทรงตั้งขึ้นไปด�าเนินการนั้น ถือเสมือนมอบหมายให้ปฏิบัติแทนพระองค์ต่างพระเนตรพระกรรณ

                   หากมีสิ่งใดที่สมควรกราบบังคมทูล หรือมีปัญหาที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ก็ต้องน�าความขึ้นกราบบังคมทูล
                   เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ วินิจฉัยสั่งการ
                            เรื่องของกรมสังฆการี หรือสังฆการีธรรมการ หรือธรรมการสังฆการี ซึ่งเจ้ากรม

                   มีศักดินาเทียบชั้นเสนาบดีนี้ นอกจากจะเป็นกรมใหญ่แล้วยังเป็นกรมเก่าแก่กว่ากรมอื่นๆ
                   ในสังกัดกระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด และมีอ�านาจหน้าที่เกี่ยวกับ

                   การศาสนา  การจัดการคณะสงฆ์มาแต่โบราณ  ดั่งปรากฏหลักฐานตามที่พระบาทสมเด็จ
                   พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับกรมธรรมการสังฆการี

                   ไว้ดังนี้
                            “  กรมธรรมการสังฆการีนี้ ตามต�าแหน่งเดิมเป็นกรมใหญ่ ได้ตั้งธรรมการหัวเมืองว่า

                   ความพระสงฆ์ต่อพระสงฆ์ หรือพระสงฆ์เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ ไม่ว่าความอย่างใด อ�านาจของ
                   กรมธรรมการที่เป็นอยู่บัดนี้ก็ไม่สู้ผิดกับแต่ก่อนมากนัก เป็นแต่ไม่มีอ�านาจที่จะตั้งธรรมการ
                   หัวเมือง  ขาดไปพร้อมๆ  กับกรมอื่นๆ  แต่ธรรมการหัวเมืองก็ยังมีหนังสือบอกข่าวคราว

                   เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างพระสงฆ์หัวเมืองบ้างน้อยๆ ราย แต่กรมธรรมการมักจะได้
                   พูดจากับพระสงฆ์เจ้าคณะตามหัวเมืองนั่นเองเสียโดยมาก  ถ้าเจ้าเมืองกรมการเมืองใด

                   จะขอตั้งเจ้าคณะหัวเมือง  ก็ยังมีใบบอกมาที่กรมธรรมการนั้นด้วย  คงอยู่อย่างแต่ก่อน
                   แต่ต�าแหน่งใหญ่คือที่พระยาพระเสด็จนั้นไม่ได้ตั้งมาเสียช้านาน  ด้วยผู้ซึ่งจะเป็นขุนนาง

                   ในต�าแหน่งธรรมการนี้ ดูเหมือนจะใช้ผู้สนัดในทางวัดๆ ผู้ซึ่งสนัดในทางวัดๆ เช่นนั้น ก็คงต้องใช้
                   ที่เป็นคนบวชอยู่นาน เร่อร่างุ่มง่ามไม่สมควรเป็นขุนนางผู้ใหญ่ จึงได้ลดต�าแหน่งมีศักดินาน้อยลง

                   คงใช้เจ้านายไปก�ากับอยู่เสมอมา”






                                                                                                        51
                                                                                          วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63