Page 59 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 59
ส่วนที่ว่า กรมธรรมการสังฆการี เป็นกรมเก่านั้น ปรากฏตามพระราชนิพนธ์ของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในหนังสือประวัติสังเขป
แห่งการจัดการศึกษาปรัตยุบันแห่งประเทศสยาม ภาค ๑ (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๖) ไว้ดังนี้
“กระทรวงธรรมการตั้งเป็นกระทรวงเสนาบดี ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน
รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ ตรงกับปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ กรมต่างๆ ซึ่งรวมเข้าเป็นกระทรวงธรรมการ
คือ กรมศึกษาธิการ ๑ กรมพิพิธภัณฑ์ ๑ กรมพยาบาล ๑ กรมธรรมการสังฆการี ๑ ทั้ง ๔
กรมนี้เดิมบังคับบัญชาอยู่ต่างกัน เป็นกรมเก่าแต่กรมธรรมการสังฆการี นอกจากนั้นมีขึ้นเมื่อ
ในรัชกาลที่ ๕”
จากเค้าความตามที่พบในเอกสารทางประวัติศาสตร์และพระราชพงศาวดารต่างๆ
จึงถือเป็นข้อยุติว่า กรมการศาสนามีประวัติความเป็นมาดังกล่าวข้างต้น และได้สรุปประวัติโดยเริ่ม
แต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา
ดังนี้
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)
๑. ยุคแรกเรียกชื่อว่า กรมสังฆการีขวา เจ้ากรมเป็นที่หลวงธรรมรักษา ได้ความจาก
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ ว่า “เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก
เสวยราชย์แล้ว ทรงตั้งต�าแหน่งพระราชาคณะ ปรากฏว่า หลวงธรรมรักษา เจ้ากรมสังฆการีขวา
ซึ่งเป็นพระพิมลธรรมมาก่อน ต้องสึกในแผ่นดินกรุงธนบุรี ว่าต้องอธิกรณ์อทินนาทาน ทรงแคลงอยู่
จึงให้พิจารณาไล่เลียงดูใหม่ ก็บริสุทธิ์อยู่ หาขาดสิกขาบทไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้กลับบวชเข้าใหม่ให้เป็นพระญาณไตรโลก อยู่วัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์)
การครั้งนี้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ปีแรกที่เสวยราชย์”
๒. ยุคที่สอง เรียกชื่อว่า สังฆการีธรรมการ ไม่ปรากฏนามเจ้ากรม ได้นามนี้จาก
กฎหมายคณะสงฆ์ ฉบับที่ ๑ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก ตราขึ้นหลังจาก
เสวยราชย์ได้ ๕ เดือน
๓. ยุคที่สาม เรียกชื่อว่า สังกระรียธรรมการ ไม่ปรากฏนามเจ้ากรมเช่นกัน ได้นามนี้จาก
ประกาศกฎเกี่ยวกับพระสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔
ตามที่กล่าวมานี้ เข้าใจว่า ชื่อกรมทั้ง ๓ นี้คงเป็นกรมเดียวกัน อาจเปลี่ยนชื่อกันบ้าง
หรือไม่ก็เรียกเพี้ยนกันบ้าง หรือหากเป็นคนละกรม ก็คงจะเป็นกรมขึ้นต่อพระยาพระเสด็จ
เจ้ากรมธรรมการใหญ ตามแบบแผนกรุงศรีอยุธยา
52
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐