Page 57 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 57

ต�าแหน่งศักดินาข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นกฎหมายที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราขึ้น
                  เพื่อแต่งตั้งขุนนาง  ข้าราชการ  ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  พระ  หลวง  ขุน  หมื่น  และ

                  ให้ผู้มีบรรดาศักดิ์แต่ละชั้นถือศักดินาชั้นละเท่านั้นเท่านี้ และในกฎหมายฉบับนั้นก็ระบุให้มี
                  กรมสังกัด มีชื่อกรมต่างๆ จัดการเรื่องราวต่างๆ ขึ้นพร้อมกัน หน่วยงาน เช่น กรมการศาสนา
                  ในปัจจุบันนี้ ควรจะถือได้ว่าเริ่มต้นมาแต่แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา และเริ่มต้น

                  ด้วยชื่อกรมธรรมการ หรือกรมสังฆการีมาแล้ว
                           เจ้าหน้าที่ฝายคฤหัสถ์ ซึ่งช่วยปฏิบัติดูแลกิจการของคณะสงฆ์ สังกัดกรมพระธรรมการ

                  หัวหน้ากรมมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพระเสด็จ หรือออกญาพระเสด็จ ต�าแหน่งออกญาพระเสด็จ
                  เป็นต�าแหน่งสูงรับพระบรมราชโองการโดยตรง และบังคับบัญชาราชการอย่างสิทธิ์ขาด

                           ในพระธรรมนูญกฎหมายว่าด้วยต�าแหน่งศักดินาข้าราชการพลเรือนมีว่า
                           ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีศรีสุภราชพิริยพาหุ ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ ขุนธรรมเสนา

                  ราชปลัดทูลฉลอง ขุนศรีปรีชานนท์ ปลัดนั่งศาล
                           กรมธรรมการ มีกรมสังฆการี เป็นกรมขึ้นอีกกรมหนึ่ง มีหลวงธรรมรักษา เป็นเจ้ากรม
                  ขุนธรรมาธิบดี เป็นราชปลัดทูลฉลอง ขุนศรีธรรมลังการ์ เป็นปลัดนั่งศาล

                           ต�าแหน่งออกญาพระเสด็จ ผู้บัญชาการกรมธรรมการนั้น ค้นได้จากพระราชพงศาวดาร
                  พบชื่อนี้เป็นอย่างไกลที่สุดเพียงแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา (รัชกาลที่ ๑๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา)

                  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๑๑๒  สมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ  ในปีแรก
                  ตรัสเอาพระยาศรีธรรม เป็นพระยาพระเสด็จ ในจดหมายเหตุฝรั่งเศสว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘

                  ราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการผู้ใหญ่
                  สองนายเป็นผู้ต้อนรับ และน�าราชทูตเข้าเฝา ปรากฏว่าคนหนึ่งเป็นออกญาพระเสด็จ ๑

                           การด�าเนินการดังกล่าวสืบเนื่องมาถึงสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการมอบหมาย
                  ภารกิจเกี่ยวกับงานด้านการพระศาสนาให้แก่หน่วยงานที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
                  ตั้งขึ้นรับผิดชอบแทนพระองค์  แบ่งเป็น  ๓  กรม  คือ  กรมธรรมการ  กรมสังฆการี  และ

                  กรมราชบัณฑิตย์ ได้ทรงมอบหมายงานที่ให้แต่ละกรมที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นรับภารกิจ
                  งานด้านการพระศาสนาเป็นอย่างๆ ไป ดังจะเห็นจากแผนผังโครงสร้างงานการบริหารและหน้าที่

                  ของกรมต่างๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นดังต่อไปนี้











                  ๑   ข้อมูลจากหนังสือประวัติกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฉลองวันครบรอบ ๖๑ ปี ของกระทรวง
                  โดย ศ.รอง ศยามานนท์

            50
           วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62