Page 97 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 97
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
ยิ่งท�า ยิ่งคิด ปัญญาก็ยิ่งแหลมคม เหมือนหนามยิ่งแก่ก็ยิ่งแหลมคมและแข็ง ส่วน คนโง่ ยิ่งพูด
ยิ่งท�า ยิ่งคิด ก็ยิ่งโง่ เหมือนหางลูกอึ่ง ลูกกบ ยิ่งโต หางก็ยิ่งหมดไป โง่กับฉลาด ถึงจะเปนของ
คู่กันอยู่ใกล้กัน แต่เรื่องสติปญญาและการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม แยกกันเปนคนละส่วน
เหมือน น�้ากับน�้ามัน ฉะนั้น
บนเวทีของการท�ามาหากิน ประกอบอาชีพการงาน ที่ต้องต่อสู้แข่งขันกัน คนโง่ มักใช้
อ�านาจและก�าลังเข้าห�้าหั่นแข่งขันและต่อสู้ เพื่อให้รู้แพ้รู้ชนะกันในเร็ววัน แต่การใช้อ�านาจ
และก�าลัง เพื่อให้ได้ชัยชนะต่อคู่ต่อสู้อย่างเดียวนั้น คนฉลาด ไม่นิยมท�า แต่นิยมใช้ปัญญาต่อสู้
กับอุปสรรค อันตรายและศัตรู เพื่อยับยั้งการใช้อ�านาจและก�าลังในบางโอกาส แต่จะใช้อ�านาจ
และก�าลังควบคู่กับปัญญาเสมอ การได้ร่วมท�างานกับคนฉลาด ความพลั้งพลาด จึงมีน้อย
หรืออาจไม่มีเลย ร่วมท�างานกับ คนโง่ อวดฉลาด มีโอกาสพลั้งพลาดมากที่สุด
การพัฒนาภาควิชาการความรู้และการงานอย่างต่อเนื่อง เป็นการสืบต่อ ฝกฝน
ความแหลมคมแห่งสติปัญญาของ คนฉลาด ดังนั้น คนฉลาด อยู่ที่ไหน กับใครหรือจะอยู่
ตามล�าพัง ก็ด�ารงตนคงความเป็นคนมีสติปัญญาได้ตลอด การท�า พูด คิด ผิดพลาดประมาท
พลั้งเผลออย่างต่อเนื่อง เป็นความสืบต่อความโง่ของ คนโง่ ดังนั้น คนโง่ อยู่กับใคร ที่ไหน
หรือจะอยู่ตามล�าพัง ก็คงความเป็น คนโง่ ของตนไว้ตลอด “ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น
เพราะความฉลาดมักลงเอยด้วย ความร่มเย็น เปนสุขและความพอใจของทุกฝาย”
ในทางตรงกันข้าม “ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เพราะความโง่ ย่อมจบลงด้วย ความผิดหวัง
เสียใจและความล�าบากเดือดร้อนเสมอ”
ลักษณะของคนฉลาด นั้นพอมีข้อสังเกตได้ดังนี้:-
๑. ไม่มักมากเห็นแก่ตัวจนคนอื่นขาดความเคารพนับถือ
๒. แม้ด�ารงอยู่ในต�าแหน่งใหญ่โต ก็ไม่นิยมใช้แต่พระเดช จนเปนเหตุให้คนอื่น
เห็นว่า “คน ๆ นี้มันบ้าอ�านาจ”
๓. ไม่ใช้แต่พระคุณอย่างเดียว จนดูคล้ายกับคนอ่อนแอไม่เอาไหน
๔. ไม่สร้างปมปญหายุ่งยากซับซ้อนขึ้นมาผูกมัดตน จนท�าให้ล่าช้าเสียการเสียงาน
๕. ไม่ละเมิดศีลธรรม ประเพณี กฎหมายของบ้านเมือง จนผู้อื่นสิ้นศรัทธา
๖. เสียสละมากรับน้อย แม้ตนจะต้องอดอยากล�าบากเดือดร้อน แต่ญาติมิตร
บริวาร มีกิน มีใช้ ก็สบายใจ
๗. ไม่ถือสากับค�าพูดจ้วงจาบ หยาบคาย จากคนอื่น
91