Page 101 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 101

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              แต่ครั้นได้มาแล้ว กลับใช้จ่ายให้สิ้นเปลืองไปอย่างสุรุ่ยสุร่าย ในเรื่องของกามารมณ์ ในเรื่อง
              ของอบายมุข อาจจะเรียกตามพฤติกรรมของเขาอย่างหยาบ ๆ หน่อยว่า “ฉลาดหาเหมือน

              สุนัขจิ้งจอก แต่ใช้จ่ายเหมือนลาโง่”

                      อนึ่ง เพราะผู้มีพระคุณแก่ตนและประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือ ร่มโพธิ์

              ร่มไทรที่ตนได้อาศัยพักหลบภัยอันตรายต่าง ๆ แต่เมื่อเราตัดท�าลายต้นโพธิ์ ต้นไทร แล้ว จะไป

              พักพิงอาศัยอยู่กับอะไร และใคร หรืออะไร จะดีกว่าร่มโพธิ์ ร่มไทร ของเดิม ที่เคยอาศัยมาก่อน
                      พระธรรมเทศนาปรารภเรื่อง พาลปณฑิตกถา พรรณาเรื่อง คนโง่ กับ คนฉลาด

              พอสมควรแก่เวลาก็หวังว่า ท่านสาธุชนทั้งหลาย จะได้ประพฤติตนให้เป็น คนฉลาด เพื่อพัฒนา

              ประเทศชาติ ศาสนา ของเราให้วัฒนาถาวรสืบไป อย่าได้ประพฤติตนให้เป็น คนโง่ จนไม่มีคน
              เหลียวแล เข้าหลักที่ว่า “โง่กระทั่งไม่มีใครเอาใจใส่ โง่กระทั่งถูกตัดหางปล่อยลอยแพ

              โง่อยู่อย่างน่าสมเพชเวทนา โง่ไม่มีวันผุดวันเกิด โง่จนกว่าจะหมดโง่ หรือโง่จนกว่าจะฉลาดขึ้น

              และโง่จนบ้านแตกสาแหรกขาด” ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลาย ช่วยกันประคับประคองตน

              ให้พ้นจากความโง่ โดยตลอดรอดฝัง เพื่อความสงบสุขของตนและผู้อื่นสืบไป

                      ขออ�านาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยอันเป็นนิรัตศัยบุญเขต  พลานุภาพแห่ง
              ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระประธานในพระอุโบสถ บารมีธรรมของท่านเจ้าประคุณ

              สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมร�สี) และอ�านาจแห่งธรรมสวนมัยกุศล จงรวมเป็น

              พลวปัจจัย ช่วยบันดาลประทานพรให้ เป็นบัณฑิตทรงรู้ทางแห่งความเจริญและทาง

              แห่งความเสื่อมของประเทศชาติ ศาสนา ได้เป็นอย่างดี ขอสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล
              จงบังเกิดมีเป็นนิตย์นิรันดร์ วิสัชนาพระธรรมเทศนาใน พาลปณฑิตกถา ดังพระบาลีที่อัญเชิญ

              มาแสดงในเบื้องต้นนั้นว่า

                      โย พาโล มฺตี พาลฺย�  ปณฺฑิโต วาปเตน โส

                      พาโล จ ปณฺฑิตมานี  ส เว พาโลติ วุจฺจติ
                      แปลว่า “บุคคลใดโง่ ย่อมรู้ตัวว่า เปน คนโง่ เขาย่อมฉลาดได้ เพราะการรู้ตัวนั้น

              แต่ บุคคลโง่ ทนงตนว่า ตัวฉลาด บุคคลนั้นแล เรา (ตถาคต) เรียกว่า คนโง่” ดังได้แสดงมา

              สมควรแก่เวลา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้












                                                                                                95
   96   97   98   99   100   101   102   103   104