Page 88 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 88
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
ส�าหรับสังคมไทยปัจจุบัน โอตตัปปะ ความกลัวผลบาป ในชาติปัจจุบันควรได้รับ
การเน้นย�้าเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่อง ทัณฑภัย คือ กระบวนการใช้กฎหมายลงโทษผู้กระท�า
การทุจริตและประพฤติมิชอบ ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะมีผลเป็นเครื่องกระตุ้น
โอตตัปปะ ให้ท�าหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันมิให้ท�าการทุจริต
ธรรมทั้งสองประการ คือ หิริและโอตตัปปะ ดังที่พรรณนามาเป็นธรรมขั้นพื้นฐาน
ของการปฏิบัติหน้าที่ให้สุจริต ผู้ประพฤติสุจริตย่อมมีชีวิตที่เป็นสุข ดังพระบาลีที่ยกไว้
ณ เบื้องต้นว่า “ธัมมะจารี สุขัง เสติ อัสมิง โลเก ปะรัมหิ จะ” แปลความว่า “ผู้ประพฤติ
ธรรมย่อมอยู่เปนสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า” ตรงกันข้าม ผู้ประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ย่อม
อยู่เป็นทุกข์ ดังที่พราหณ์คนหนึ่งได้พยายามพิสูจน์เรื่องนี้ในสมัยพุทธกาล
พราหมณ์คนดังกล่าวนั้น รับราชการอยู่ในราชส�านักของ พระเจ้าโกศล เขาเป็น
พราหมณ์ผู้รอบรู้ในไตรเพทและเป็นชาวพุทธผู้รักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด เขาได้รับการ
ยกย่องเป็นอย่างดีจากราชส�านัก เขาต้องการทดลองดูว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเขาประพฤติทุจริต
ผิดศีลธรรม
วันหนึ่ง เมื่อจะกลับบ้าน เขาได้หยิบเหรียญกษาปณ์ ๑ อัน ไปจากแผงของเหรัญญิก
คนหนึ่ง โดยมิได้บอกกล่าวเลย เหรัญญิกคนนั้น มิได้พูดอะไรกับเขา เพราะความเคารพ รุ่งขึ้น
พราหมณ์หยิบไปสองเหรียญกษาปณ์ เหรัญญิกคงนิ่งเฉยเหมือนเดิม ในวันที่สาม พราหมณ์
คว้าเหรียญกษาปณ์ไปเต็มก�ามือ เหรัญญิกคนเดิมนั้น ได้ร้องตะโกนว่าจับโจร ๆ คนที่อยู่ใน
เหตุการณ์ ต่างรุมประณามพราหมณ์นั้นว่า แสร้งท�าตัวเหมือนผู้มีศีลมานาน ที่แท้ก็เป็นโจร
จากนั้น เขาถูกจับมัดส่งตัวไปให้พระราชาลงโทษ
พระราชาตรัสถามพราหมณ์ว่า “เหตุใดจึงท�าเช่นนี้” เมื่ออยู่กันตามล�าพัง พราหมณ์
กราบทูลว่า “ที่เขาท�าลงไปเพื่อทดลองดูว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเขาประพฤติทุจริตผิดศีลธรรม
จากการทดลองครั้งนี้ เขาได้เห็นภัยของการประพฤติทุจริตและอานิสงส์ของการประพฤติ
สุจริต คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ การเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนไม่อาจช่วยให้เขาสามารถรักษา
ศีลได้บริสุทธิ์ เขาจึงทูลขอพระราชานุญาตไปบวชเป็นพระภิกษุในส�านักของพระบรมศาสดา”
พระพุทธองค์ตรัสสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า “สีลัง กิเรวะ กัลยาณัง สีลัง โลเก อะนุตตะรัง” แปลความว่า
“ได้ยินว่าศีลนั่นแหละงดงาม ศีลยอดเยี่ยมในโลก”
82