Page 85 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 85

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ทั้งสี่อย่างนี้ มีเสมอกันในมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน ธรรมเท่านั้น ที่ท�าให้มนุษย์ต่างจากสัตว์

              เดรัจฉานเมื่อปราศจากธรรม มนุษย์ก็เสมอกับสัตว์เดรัจฉาน” ธรรมที่ท�าให้มนุษย์ประเสริฐ
              กว่าสัตว์เดรัจฉาน ก็คือ โลกปาลธรรม หรือธรรมฝายขาว ๒ ประการ ได้แก่ หิริและโอตตัปปะ สม

              ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ธรรมสูตร ว่า “ถ้าธรรมฝายขาว ๒ ประการนี้จะไม่พึงคุ้มครองโลก

              ไซร้ในโลกนี้ก็ไม่พึงเหลือค�าว่า แม่ น้า ปา ภรรยาของอาจารย์ หรือว่า ภรรยาของครู ปรากฏอยู่

              ชาวโลกจักถึงการผสมปะปนกันไป เหมือนอย่างแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก
              ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายก็เพราะเหตุที่ธรรมฝายขาว ๒ ประการนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ดังนั้น

              จึงยังเหลือค�าว่า แม่ น้า ปา ภรรยาของอาจารย์ หรือว่า ภรรยาของครูปรากฏอยู่”

                      ในบรรดาธรรมเครื่องคุ้มครองโลกทั้งสองอย่างนั้น หิริ ความอายชั่ว หมายถึง
              ความละอายต่อการท�าบาปกรรม หรือความชั่วทั้งปวง เปนการมองเห็นความชั่ว

              หรือบาปกรรมว่าเปนสิ่งสกปรกที่ไม่ควรจะข้องแวะด้วย ทั้งนี้ เพราะเชื่อมั่นในความดี

              และศักดิ์ศรีของตนจนไม่ประสงค์จะลดตัวลงไปเกลือกกลั้วกับความชั่วทั้งหลาย

              ท่านเปรียบ หิริ เหมือนความรู้สึกของคนที่อาบน�้าช�าระล้างร่างกายจนสะอาดหมดจดแล้ว

              ย่อมไม่ประสงค์จะให้ร่างกายไปแปดเปอนกับสิ่งสกปรกอีก
                      โอตตัปปะ ความกลัวบาป หมายถึง ความกลัววิบาก หรือผลของความชั่วที่จะตาม

              มาสร้างความทุกข์ให้กับชีวิต ความกลัวผลร้ายที่จะตามมานี้ สามารถห้ามมิให้คนท�าชั่วได้

              ผลร้ายนั้น เป็นได้ทั้งความทุกข์ในชาตินี้และในชาติหน้า ท่านเปรียบ โอตตัปปะ เหมือน
              ความรู้สึกของคนที่เห็นถ่านเพลิงติดไฟลุกโชนแล้ว ไม่กล้าจับ เพราะกลัวความร้อนเผามือ

              ของตน สมดังบทกลอนที่ว่า

                        ถ้ารักตัว กลัวกรรม อย่าท�าชั่ว  จะหมองมัว หม่นไหม้ ไปเมืองผี

                        จงเลือกท�า แต่กรรม ที่ดีดี      จะได้มี ความสุข พ้นทุกข์ภัย

                      ใน สติสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า “หิริและโอตตัปปะนี้ เปนเหตุให้เกิดการส�ารวม
              อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และการส�ารวมอินทรีย์ก็เปนพื้นฐานของการรักษาศีล

              ดังพระบาลีที่ว่า “หิโรตตัปเปสะติ หิโรตตัปปะสัมปนนัสสะ อุปะนิสะสัมปนโน โหติ

              อินทริยะสังวะโร” เป็นต้น แปลความว่า “เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่อินทรีย์สังวรชื่อว่า
              มีเหตุสมบูรณ์ ส�าหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ เมื่ออินทรีย์สังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่า

              มีเหตุสมบูรณ์ ส�าหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร”







                                                                                                79
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90