Page 86 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 86
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
ดังได้พรรณนามาแล้วว่า “การงดเว้นจากการทุจริตและประพฤติมิชอบถือว่า
เปนการรักษาศีลห้าข้อที่ ๒ คือ การงดเว้นจาก อทินนาทาน หรือการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
มิได้ให้” การงดเว้นจากการทุจริตจะคงอยู่อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อมี หิริและโอตตัปปะ เป็นพื้นฐาน
ถ้าปราศจากธรรมทั้งสองประการนี้แล้ว คนเราย่อมสามารถที่จะท�าการทุจริตและประพฤติ
มิชอบได้ตลอดเวลา ดังนั้น การปลูกฝังธรรมทั้งสองประการให้เป็นธรรมประจ�าใจจึงเป็น
สิ่งส�าคัญ นั่นคือ “มี หิริ ความละอาย ที่จะท�าการทุจริตและประพฤติมิชอบ มี โอตตัปปะ
ความกลัวผลร้ายของการทุจริตและประพฤติมิชอบนั้น”
หิริ ความอายชั่ว เกิดจากการนึกถึงความเป็นคนดีและศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูลเป็นต้น
แล้วเกิดความละอายใจที่จะท�าการทุจริตและประพฤติมิชอบ ความทะนงในศักดิ์ศรีท�าให้
คนบางคนไม่คิดโกงใครหรือขอใครกิน ดังที่พรรณนาไว้ในโคลงโลกนิติว่า
ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง
เรื่องของ นางขุชชุตตรา เป็นตัวอย่างหนึ่งของบุคคลที่งดเว้นจากการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ เพราะเกิด หิริ ความอายชั่ว ขึ้นในใจเรื่องมีอยู่ว่า
นางขุชชุตตรา เป็นสาวใช้ของ พระนางสามาวดี ผู้เป็นมเหสีของ พระเจ้าอุเทน แห่ง
กรุงโกสัมพี เธอเบิกเงินจากคลังหลวงเป็นเหรียญกษาปณ์วันละ ๘ อัน เพื่อน�าไปซื้อดอกไม้
มาถวาย พระนางสามาวดี เมื่อเบิกเงินไปแล้ว นางขุชชุตตรา จ่ายค่าดอกไม้เพียง ๔ เหรียญ
กษาปณ์ และได้ดอกไม้วันละครึ่งกระเช้า เงินที่เหลือเธอได้เบียดบังไปเป็นของตนเอง นี่คือ
การทุจริตต่อหน้าที่ นางขุชชุตรา ท�าอย่างนี้ทุกวัน วันหนึ่งช่างดอกไม้นิมนต์พระพุทธเจ้า
พร้อมพระสงฆ์หมู่ใหญ่มารับภัตตาหารที่ร้าน จึงไม่มีเวลาจัดดอกไม้ให้นางขุชชุตตรา
ขณะที่รอรับดอกไม้อยู่นั้น นางขุชชุตตรา ได้ช่วยจัดอาหารถวายพระสงฆ์ และได้มีโอกาส
ฟังค�าเทศนาและค�าอนุโมทนาของพระพุทธเจ้าจนจบแล้ว เธอได้ดวงตาเห็นธรรม
เธอได้จ่ายเงินเป็นเหรียญกษาปณ์ ๘ อัน ซื้อดอกไม้เต็มกระเช้าไปถวาย พระนางสามาวดี
เมื่อ พระนางสามาวดี ทอดพระเนตรเห็นดอกไม้ที่มากกว่าทุกวัน พระนางจึงตรัสถามว่า
“พระเจ้าอุเทนพระราชทานเงินค่าดอกไม้เพิ่มขึ้นหรืออย่างไร” นางขุชชุตตรา สารภาพความจริง
ที่ตนเคยเบียดบังเงินค่าดอกไม้วันละ ๔ เหรียญกษาปณ์ หิริ ความละอายใจ ท�าให้เธองดเว้น
80