Page 82 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 82

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบทคืองดเว้นการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้”

                  การงดเว้นจากการทุจริตท่านเรียกว่า วิรัติ มี ๓ ประการ คือ
                  ๑) สัมปตตวิรัติ เว้นสิ่งประจวบเฉพาะหน้า คือ เว้นเมื่อประสบเหตุจูงใจให้ท�า

          การทุจริตแล้วงดเว้นเสียได้ไม่ท�าผิดศีล เพราะมีหิริ ความอายชั่ว โอตตัปปะ ความกลัวบาป

                  ๒) สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้แล้ว เมื่อประสบเหตุ

          จูงใจให้ท�าการทุจริต ก็งดเว้นได้ตามที่สมาทานไว้ก่อนแล้ว
                  ๓) สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้เด็ดขาด เว้นได้เด็ดขาด คือ การงดเว้นการทุจริตของ

          พระอริยะทั้งหลาย ผู้ไม่มีแม้แต่ความคิดที่จะประกอบการทุจริตนั้น

                  ดังนั้น การรณรงค์ให้คนไทยรักษาศีล ๕ โดยเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

          จึงเป็นวิธีการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง
                  การทุจริตและประพฤติมิชอบมิได้มีแต่ในสมัยนี้เท่านั้น แม้แต่ในสมัยพุทธกาล

          กว่าสองพันปีมาแล้ว ก็มีการทุจริตและประพฤติมิชอบเช่นเดียวกัน ดังที่มีการเล่าไว้ใน

          ธนัญชานิสูตร ดังต่อไปนี้

                  ญาติคนหนึ่งของ พระสารีบุตร มีชื่อว่า ธนัญชานิพราหมณ์ เขาเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
          ในการรับราชการช่วงแรก เขาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต เพราะได้ภรรยาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

          คอยตักเตือนเขา แต่ตอนหลังเขาได้ภรรยาใหม่ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเห็นผิดจากท�านองคลองธรรม

          ธนัญชานิพราหมณ์ จึงหันมาประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ด้วยวิธีการ ๒ อย่าง ดังนี้

                  วิธีการแรก เขาอาศัยพระราชาปล้นประชาชน คือ อ้างกฎหมายหรือใช้อ�านาจรัฐ
          เพื่อแสวงหาประโยชน์จากประชาชน วิธีการนี้เรียกว่า “การฉ้อราษฎร์”

                  วิธีการที่สอง เขาอาศัยประชาชนปล้นพระราชา คือ เบิกเงินจากคลังหลวงโดย

          อ้างว่าจะน�าไปช่วยประชาชนผู้ประสบภัย แต่เงินนั้นไม่ถึงมือประชาชน เพราะเขาน�าเงินไปใช้

          เพื่อประโยชน์ส่วนตน วิธีการนี้เรียกว่า “การบังหลวง”
                  ต่อมาเมื่อ พระสารีบุตร ได้พบกับ ธนัญชานิพราหมณ์ พระเถระได้ถามเขาว่า เขาท�าการ

          ฉ้อราษฎร์บังหลวงตามที่มีผู้รายงานให้ท่านทราบจริงหรือ ธนัญชานิพราหมณ์ รับสารภาพว่า

          “เขาได้ท�าเช่นนั้นจริง” พระสารีบุตร ถามว่า “ท�าไมจึงท�าเช่นนั้น” ธนัญชานิพราหมณ์ ตอบว่า
          “เหตุที่เขาท�าการฉ้อราษฎร์บังหลวง เพราะเขาต้องน�าเงินที่ได้จากการทุจริตประพฤติมิชอบ

          ไปเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ภรรยา ทาสและกรรมกร” พระสารีบุตรได้ตักเตือน ธนัญชานิ

          พราหมณ์ ว่า “ผู้ท�าการทุจริตประพฤติมิชอบตายไปแล้วต้องตกนรก ค�าแก้ตัวที่ว่า




        76
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87