Page 81 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 81

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ประโยชน์ให้กับตนเองหรือคนอื่นในทางที่ผิดกฎหมายและผิดท�านองคลองธรรม ประโยชน์

              ในที่นี้ หมายรวมทั้ง ทรัพย์สินเงินทอง ต�าแหน่งหน้าที่ ชื่อเสียง เกียรติยศหรือสิทธิอื่นใด
              ที่ไม่สมควรได้มา แต่ก็ใช้อ�านาจหน้าที่ในทางมิชอบจนกระทั่งได้มาตามที่ต้องการ นี่เรียกว่า

              การทุจริตต่อหน้าที่

                      พระพุทธเจ้าตรัสสอนต่อไปว่า “นะ ตัง ทุจจะริตัง จะเร” แปลความว่า “บุคคล

              ไม่ควรประพฤติธรรม คือ หน้าที่นั้นให้ทุจริต” ทั้งนี้ เพราะการทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหมือนสนิม
              ที่กัดกร่อนชีวิตและสังคมให้พังพินาศไปในที่สุด ชีวิตของบุคคลผู้บกพร่องต่อหน้าที่ ละเว้น

              หน้าที่และทุจริตต่อหน้าที่ ย่อมมีแต่ความอ่อนแอเสื่อมโทรม อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในอดีต

              ไม่ได้ล่มสลาย เพราะภัยจากภายนอกเพียงอย่างเดียว หากแต่บาปทุจริตของประชาชน

              อันเป็นสนิมภายในก็มีส่วนสร้างความอ่อนแอให้กับอาณาจักรนั้น ๆ จนต้องล่มสลายเมื่อภัยจาก
              ภายนอกมารุกราน ข้อนี้สมดังพุทธพจน์ในธรรมบทที่ว่า “อะยะสา วะ มะลัง สะมุฏฐิตัง” เป็นต้น

              แปลความว่า “สนิมเกิดแต่เหล็กย่อมกัดกินเหล็กฉันใด กรรมที่ตนท�าไว้ ย่อมน�าเขา

              ผู้ไร้ปญญาไปสู่ทุคติ ฉันนั้น” สมด้วยโคลงโลกนิติที่ว่า

                         สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ          ในตน
                          กินกัดเนื้อเหล็กจน            กร่อนขร�้า

                          บาปเกิดแต่ตนคน                เปนบาป

                          บาปย่อมท�าโทษซ�้า             ใส่ผู้บาปเอง

                      สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน มีการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในและนอก
              วงราชการอยู่ทั่วไป จนเป็นที่ห่วงใยกันว่า การทุจริตต่อหน้าที่ก�าลังกลายเป็นสนิมร้ายที่บ่อน

              ท�าลายประเทศชาติอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพราะการทุจริตต่อหน้าที่เมื่อผนวกเข้ากับคติที่ว่า

              “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ย่อมน�าสังคมไปสู่การแก่งแย่งแข่งขันในลักษณะที่ว่า “แย่งอาหาร

              กันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอ�านาจกันเปนใหญ่” การแตกความสามัคคี
              กลายเป็นสนิมที่กัดกร่อนโครงสร้างสังคมจากภายใน ที่รอวันล่มสลายถ้าถูกกระทบด้วยภัย

              จากภายนอกในอนาคต

                      สภาพสังคมที่ดาษดื่นไปด้วยการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในและนอกวงราชการนี้

              แสดงให้เห็นถึงความย่อหย่อนในการรักษาศีล ๕ เพราะว่า ประโยชน์ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง
              ที่บุคคลประพฤติทุจริตแล้วได้มานั้น จัดเป็นอทินนาทาน คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

              ซึ่งนับเป็นการละเมิดศีลห้าข้อที่ ๒ ที่มีค�าสมาทานว่า “อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง




                                                                                                75
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86