Page 80 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 80
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
คนดีสามารถบ�าเพ็ญประโยชน์ทั้งสามประการแก่คนเป็นอันมาก เพราะเขาท�าหน้าที่
ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ถ้าสมาชิกในสังคมใด พร้อมใจกันท�าหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
สังคมนั้นก็จะมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งส�าคัญ
ส�าหรับการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ แท้ที่จริง การปฏิบัติหน้าที่ ก็คือ การปฏิบัติธรรม
สมดังบาลีนิกเขปบทที่อาตมภาพยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า “ธัมมัง จะเร สุจะริตัง” เป็นต้น
แปลความว่า “บุคคลควรประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้ประพฤติ
ธรรมย่อมอยู่เปนสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า” พระพุทธเจ้าทรงประทานพุทธภาษิตนี้แก่
พระเจ้าสุทโธทนะ ในโอกาสที่เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรกภายหลังจากการตรัสรู้
ในพุทธภาษิตนี้ ค�าว่า “ธรรม หมายถึง หน้าที่ กล่าวคือ พระเจ้าสุทโธทนะทรงมีหน้าที่ในการ
ปกครองซึ่งจัดเปนวรรณธรรม คือ หน้าที่ประจ�าวรรณะกษัตริย์ พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธธรรม
คือ หน้าที่ประจ�าของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะต้องออกบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์
ใครมีธรรม คือ หน้าที่อะไรควรท�าหน้าที่นั้นให้สุจริตด้วยลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑) ไม่บกพร่องต่อหน้าที่ ๒) ไม่ละเว้นหน้าที่ และ ๓) ไม่ทุจริตต่อหน้าที่”
ประการแรก บุคคลชื่อว่า “ไม่บกพร่องต่อหน้าที่” เพราะเขาทุ่มเทอุทิศตน
ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มก�าลังความสามารถ เมื่อได้รับมอบหมายให้ท�าหน้าที่ใด เขาจะ
ท�าหน้าที่นั้นอย่างดีที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความบกพร่องเสียหายแก่งานในหน้าที่ เข้าท�านองที่ว่า
“ร้องให้สุดค�า ร�าให้สุดแขน แพนให้สุดปีก” ดังที่นักปราชญ์จีนชื่อว่า ขงจื้อ กล่าวไว้ว่า
“เมื่อได้รับมอบหมายให้ท�าหน้าที่ใด จงท�าหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด ถ้าเขาให้เลี้ยงม้า ม้าจะต้อง
อ้วน ถ้าเขาให้เปนเสนาบดีกระทรวงการคลังเงินจะต้องเต็มคลัง”
ประการที่สอง บุคคลชื่อว่า “ไม่ละเว้นหน้าที่” เพราะเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
เขาจึงไม่ละทิ้งหน้าที่หรือผลักภาระหน้าที่ของตนไปให้คนอื่น เช่น ผู้เป็นทหารย่อมไม่หนีทัพ
ผู้เป็นบิดามารดาย่อมไม่ละทิ้งหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนบุตรธิดา ในนิทานอีสปมีเรื่องเล่า
เกี่ยวกับมารดาที่ไม่ท�าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนบุตรของตน เมื่อพบว่า เขาชอบลักขโมย
ในวัยเด็ก พอบุตรเติบใหญ่ก็กลายเป็นโจร อีสปสรุปว่า “เมื่อบุตรเปนโจร บิดามารดาย่อมมี
ส่วนในการสร้างความเปนโจรให้กับบุตร เหตุเพราะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการอบรม
สั่งสอนบุตรของตน”
ประการสุดท้าย บุคคลชื่อว่า “ไม่ทุจริตต่อหน้าที่” เพราะเขาไม่ปฏิบัติหน้าที่ไปในทาง
ที่มิชอบด้วยกฎหมายและหลักศีลธรรม หมายถึง เขาไม่ใช้อ�านาจหน้าที่ไปในการแสวงหา
74