Page 79 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 79

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



                                              สุจริตธรรมกถา
                        แสดงโดย พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ วัดฉิมทายกาวาส

                                       เขตบางกอกนอย กรุงเทพฯ

                                วันอาทิตยที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐



                   นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

                                    ธมฺมํ จเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร

                                ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จาติ.




                      ณ บัดนี้อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนาใน สุจริตธรรมกถา ว่าด้วย
              การปฏิบัติหน้าที่ให้สุจริต เพื่อเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี

              อนุโมทนากุศลบุญราศีของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้ขวนขวายมาบ�าเพ็ญบุญ

              ธัมมัสสวนมัย คือ บุญที่ได้จากการฟงพระธรรมเทศนา เพื่อน้อมน�าพระธรรมค�าสั่งสอน

              ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเป็นเครื่องน�าทางในการพัฒนาชีวิตและสังคมต่อไป
                      การพัฒนาทุกอย่างเริ่มต้นที่การพัฒนามนุษย์ เพราะว่า มนุษย์เป็นศูนย์กลาง

              ของการพัฒนา ดังค�ากล่าวที่ว่า “พัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน พัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ

              จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อน” นั่นคือ การพัฒนาประเทศชาติเริ่มจากการพัฒนา

              ประชาชนให้เป็นคนดีคนเก่งและมีความสุข ทั้งนี้ เพราะประชาชนที่พัฒนาดีแล้วย่อมกลาย
              เป็นพลังขับเคลื่อนสังคมทุกภาคส่วนให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน สิ่งส�าคัญในการพัฒนา

              สังคมอยู่ที่การพัฒนาคนให้เป็นสัปบุรุษ คือ เป็นคนดี คนดี คือ คนเช่นไร พระพุทธเจ้า

              ตรัสว่า  คนดี  คือ  คนที่เกิดมาบ�าเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก  ดังพระบาลีที่ว่า

              “เสยยะถาปภิกขะเว มะหาเมโฆ สัพพะสัสสานิ สัมปาเทนโต” เป็นต้น แปลความว่า
              “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมฆฝนตกลงมาท�าให้ข้าวกล้าเจริญงอกงาม ย่อมตกเพื่อประโยชน์

              เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเปนอันมาก ฉันใด คนดีเมื่อเกิดในตระกูลย่อมเกิดเพื่อประโยชน์

              เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเปนอันมาก ฉันนั้น” นั่นคือ คนดีเกิดมาแล้วย่อมท�าประโยชน์

              ๓ ประการ ให้บริบูรณ์ คือ ๑) อัตตัตถะ ประโยชน์ตน ๒) ปรัตถะ ประโยชน์คนอื่น
              ๓) อุภยัตถะ ประโยชน์ส่วนรวม







                                                                                                73
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84