Page 74 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 74
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
สังกิเลสธรรมที่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้สามัคคีก็มีแต่จะอันตรธานเสื่อมสิ้นไปเป็นเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น พุทธาทิบัณฑิตจึงสอนให้มีอุบายข่มใจ ยับยั้งใจ มิให้หุนหันพูดหรือท�าตาม
อ�านาจของโทสะอุบายเครื่องข่มใจนั้น ส�าเร็จด้วยคุณธรรม คือ สติสัมปชัญญะ ความระลึก
นึกได้เรียกว่า “สติ”, ความรู้ตัวเรียกว่า “สัมปชัญญะ” สตินั้นเป็นไปในกิริยาที่ท�า ที่พูด ที่คิด
เมื่อจะท�ากิจการสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ดี เมื่อจะพูดจาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี เมื่อจะคิดอ่านอย่างหนึ่ง
อย่างใดก็ดี ให้ระลึกนึกก่อนแล้วจึงท�า จึงพูด จึงคิด ท�าพลาด พูดพลาด คิดพลาด ก็เพราะ
ขาดสติสัมปชัญญะ สตินั้นเปนไปในกิจทั้ง ๓ กาล คือ อดีต ปจจุบันและอนาคตก�าหนดได้
ทั่วถึง ส่วนสัมปชัญญะให้รู้ตัวในขณะก�าลังท�า ก�าลังพูด ก�าลังคิดเปนไปในกิจส่วนปจจุบัน
แต่ประการเดียว คุณธรรมข้อนี้มีอุปการะมากในกรณียกิจทุกสิ่งสรรพ์ เป็นประโยชน์ส�าคัญ
แก่คนทุกชั้น ทั้งทางคดีโลกและทางคดีธรรมทั่วไป ท�าให้เป็นผู้รอบคอบระมัดระวังรู้จัก
ยับยั้ง ไม่พลาดพลั้งเสียหาย ใจอันหาสติสัมปชัญญะควบคุมมิได้ย่อมแล่นไปในอารมณ์ต่าง ๆ
สุดแต่จะใคร่ ถ้าได้อาศัยสติสัมปชัญญะเข้าควบคุมก�ากับยอมรู้จักยับยั้งและเลือกสรรแต่ส่วน
ที่ควรที่ดี ธรรมดาว่ารถที่เทียมด้วยม้า ถ้าปราศจากสารถีผู้ก�ากับขับขี่พาชี ก็จะพาลากวิ่งไป
ตามล�าพังยังความเสียหายให้เกิดแก่ตนแลคนอื่น ส่วนรถที่มีสารถีผู้ฉลาดขี่ขับก�ากับไว้ย่อม
แล่นไปโดยเรียบร้อยไม่เป็นอันตรายไม่ท�าความเสียหายให้เกิดแก่ผู้ใด ยังประโยชน์แก่การ
ใช้รถให้ส�าเร็จผลเป็นอันดี อุปมาข้อนี้ฉันใดความเป็นไปแห่งบุคคลก็มีอุปไมยฉันนั้น ผู้ที่มีใจ
อันหาสติสัมปชัญญะควบคุมมิได้ ย่อมประพฤติกาย วาจา ผิด ๆ พลาด ๆ ท�าความพินาศ
เสียหายให้แก่ตนแลคนอื่น ส่วนผู้ที่มีใจอันสติสัมปชัญญะเข้าควบคุมก�ากับไว้ ย่อมประพฤติ
ในทางที่ถูกที่ชอบประกอบแต่ความดีความงามเป็นผล จัดว่าเป็นนายสารถีแห่งอัตภาพกาย
ใจตน ประสบผลดีที่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียว คนที่มีอุบายเครื่องข่มใจกล่าวคือ อาศัย
สติสัมปชัญญะ เป็นเครื่องยั้งใจอยู่ย่อมเป็นผู้ห่างจากความผิดความพลั้งพลาดเหตุดังนี้
สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ จึงทรงจัดความข่มใจไว้ในฆราวาสธรรมเป็นประการที่ ๒
ความอดทนข้อที่ ๓ เรียกตามภาษาบาลีในที่ทั่วไปว่า “ขันติ” แต่ในคาถาพุทธภาษิตนี้
ตรัสเรียกว่า “ธิติ” แปลว่า “ความหนักแน่น” แทนค�าว่า ขันติ นั้น เป็นคุณที่ส�าคัญอีก
ประการหนึ่ง ของคนผู้นับเนื่องในหมู่อยู่กันเป็นชุมนุมชนตั้งต้นแต่ในตระกูลเดียวกันขึ้นไป
ก็แล “ทมะ” ความข่มใจประการที่ ๒ ดังพรรณนามาแล้วนั้น ย่อมเป็นคุณส�าคัญส�าหรับ
ก�าราบปราบปรามใจตน แต่มิใช่ทุกคนจะท�าได้ง่าย เพราะสังกิเลสธรรม อันเป็นอนุสัย
ในจิตสันดานย่อมเกิดขึ้นไว เมื่อมีปัจจัย คือ อารมณ์เครื่องกระทบกระทั่งหรือยั่วยวนมาปรากฏ
68