Page 73 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 73

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ๔ ประการ มีความสัตย์เป็นข้อต้น ซึ่งจะได้พรรณนาอรรถาธิบายเป็นข้อ ๆ พอสมควร

              แก่กาลสมัย
                      สัจจะข้อที่ ๑ ความประพฤติอะไรด้วยน�้าใจจริง เรียกว่า ความสัตย์โดยอรรถ

              ก็คือ ความประพฤติเที่ยงธรรมในหน้าที่กิจการงาน ความซื่อตรงต่อวงศ์วาน ญาติสนิท

              มิตรสหาย ความสวามิภักดิ์ไม่คืนคลายในเจ้านายของตน ความเป็นคนกตัญูในผู้ที่มี

              อุปการะแก่ตนมา จัดเข้าในกิริยาที่ซื่อสัตย์ต่อกัน เป็นคุณที่ส�าคัญในการสมาคมคบหา
              ของประชาชน เพราะเมื่อต่างคนก็ต่างประพฤติซื่อตรงตามหน้าที่ของตน ย่อมเป็นเหตุ

              อ�านวยผล คือ ความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกลมเกลียวกัน ช่วยประกอบ

              กิจการงานนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นให้ส�าเร็จผลเป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ท่านทั้ง ๒ สถาน

              ปลูกความชื่นบานจับจิตจับใจของกันแลกัน นับว่าเป็นรสส�าคัญยิ่งกว่ารสทั้งหลาย
              รสอาหารอื่นแม้จะดีเลิศประเสริฐสักปานใด ก็ยังไม่เป็นที่ต้องใจของบุคคลทั่วไปทุกหมู่เหล่า

              แม้ผู้นั้นจะสิ้นชีพท�าลายขันธ์ล่วงลับดับไปตามธรรมดาของสังขารก็ยังคงอยู่เชิดชู

              เกียรติคุณไม่สูญหาย ยังติดปากจับใจของบุคคลผู้อยู่ในภายหลัง พุทธาทิบัณฑิตพิจารณา

              เห็นอ�านาจประโยชน์เช่นนี้ จึงสอนให้มีสัจจะต่อกัน ตั้งต้นแต่ให้พูดค�าจริงให้รักษาปฏิญญา
              คือ ค�ามั่นสัญญาอันชอบธรรม ให้ประพฤติเที่ยงตรงในบุคคล แลในหน้าที่กิจการงาน

              และสรรเสริญความสัตย์ไว้ในพระบาลีประเทศหลายสถาน เป็นต้นว่า “สจฺจ� หเว สาธุตร�

              รสาน�” “ความสัตย์เปนรสอันล�้าเลิศกว่ารสทั้งหลาย” “สจฺจ� เว อมตา วาจา” “ค�าสัตย์
              แลเปนวาจาไม่ตาย” “สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ” “บุคคลย่อมได้เกียรติยศชื่อเสียงก็เพราะ

              ความสัตย์” จึงได้ทรงจัดว่าเป็นธรรมส�าหรับผู้ครองเรือนประการต้น

                      ความข่มใจข้อที่ ๒ รองลงมาเรียกตามภาษาบาลีว่า “ทมะ” เป็นคุณที่ส�าคัญ

              อีกประการหนึ่งอันชนผู้อยู่ร่วมกัน เช่น ในตระกูล ในหมู่ ในถิ่นฐาน ย่อมมีกิจการ

              เกี่ยวเนื่องถึงกันและกิจการนั้น ๆ จะด�าเนินไปได้ด้วยดีก็เพราะอาศัยความสามัคคี
              พร้อมเพรียงกัน ถ้าเกิดความแก่งแย่งไม่ลงรอยร่วมกัน กิจการนั้น ๆ ย่อมไม่ส�าเร็จผล

              เสียประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนผู้นับเนื่องในหมู่ การที่จะอยู่ร่วมสามัคคีรสกันได้ ก็เพราะ

              อาศัยที่ต่างคนต่างรักษาน�้าใจของกันและกัน เป็นข้อใหญ่ไม่ถือเอาแต่ใจของตนเอง

              เป็นประมาณรู้จักผ่อนผันสั้นยาวเข้าหาความสงบเป็นที่ตั้ง แต่ทว่าคนทั้งหลายย่อมมีอัธยาศัย
              จิตใจต่างกัน บางคนมักหุนหันมุทะลุด้วยอ�านาจโทสะ บางคนใจเย็นมีเรื่องมากระทบกระทั่ง

              ก็นิ่งได้ ส�าหรับคนที่มีอัธยาศัยร้าย ถ้าไม่มีสติคอยเหนี่ยวรั้ง ก็จะประพฤติไปตาม




                                                                                                67
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78