Page 68 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 68

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          เพราะการท�าความดีนั้นอาจจะท�าให้โดดเด่นเกินหน้าเกินตาคนอื่นเขา ดังที่หลวงวิจิตรวาทการ

          ประพันธ์ไว้ว่า
                     “อันที่จริงคนเขาอยากให้เราได้ดี   แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้

                    จงท�าดีแต่อย่าเด่นจะเปนภัย        ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน”

                  การท�าความดีบางครั้งไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเด่นได้ เพราะต้องกล้าท�าในสิ่งที่

          คนอื่นไม่เคยหรือไม่กล้าท�า ดังนั้นในการท�าความดี จึงต้องกล้าเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ
          ต้องมีความเสียสละสู้อุปสรรค เสียสละสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขที่ไพบูลย์กว่า

          สมดังพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนั้นว่า “มตฺตาสุขปริจฺจาคา” เป็นต้น ซึ่งแปลความว่า

          “ถ้าเห็นแก่ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่กว่าเพราะสละสุขเล็กน้อย นักปราชญ์ควรสละสุขเล็กน้อย
          เพื่อเห็นแก่ความสุขที่ยิ่งใหญ่กล่าวในทางธรรม” สุขที่ยิ่งใหญ่กว่าได้แก่ “พระนิพพาน คือ

          การดับกิเลสอย่างสิ้นเชิง” หากเราต้องการความสุข คือ พระนิพพานก็ต้องสละความสุขที่เกิด

          ขึ้นในชีวิตประจ�าวันซึ่งเป็นความสุขเล็กน้อยเสีย ดังเช่นเจ้าชายสิทธัตถะได้เสียสละความสุข

          ในราชสมบัติ เสด็จออกผนวชเพื่อแสวงหาความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือ ความเป็นพระพุทธเจ้า

          และหากเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงเห็นแก่พระองค์ไม่ยอมสละความสุขในการครองราชสมบัติ
          เชื่อแน่ว่า เราท่านทั้งหลาย คงจะไม่ได้พบแสงสว่างจากพระธรรมค�าสอนอย่างเช่นทุกวันนี้

          อย่างแน่นอน นี่แหละ คือ ผลแห่งการเสียสละความสุขเล็กน้อยของพระองค์ หากจะกล่าว

          ในทางโลกความสุขของคนส่วนรวมส�าคัญกว่าความสุขส่วนตัว เนื่องจากคนเรา จะอยู่

          ตามล�าพังตัวคนเดียวไม่ได้ จ�าต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
          แต่การที่จะพึ่งพาอาศัยกันได้ ก็เพราะอีกฝายหนึ่งยอมเสียสละให้ เช่น ลูก ๆ ที่เจริญเติบโตมาได้

          ก็เพราะการเสียสละของพ่อแม่ ลูกศิษย์ที่ประสบความส�าเร็จได้ก็เพราะความเสียสละ

          ของครูบาอาจารย์ ประเทศชาติที่มั่นคงยั่งยืนมาถึงทุกวันนี้ได้ ก็เพราะการเสียสละเลือดเนื้อ

          แรงกายแรงใจของบรรพบุรุษร่วมกันสร้างมา คนที่เห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นมากกว่า
          ความสุขส่วนตัว สามารถทนต่อความล�าบากเพื่อสร้างสรรค์คุณงามความดีให้เกิดขึ้นได้

          ในเรื่องนี้ ขอกล่าวถึงท่านมหาตมคานธี ซึ่งเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุข

          ของประเทศอินเดีย ท่านมหาตมคานธี เป็นลูกเศรษฐีเกิดในตระกูลมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย

          จบการศึกษานิติศาสตร์จากประเทศอังกฤษแล้วเดินทางกลับมาประเทศอินเดีย ตอนนั้น
          อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษ ท�าให้เกิดความรู้สึกว่า ในขณะที่คนทั้งประเทศ







        62
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73