Page 64 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 64

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



                  คุณธรรมประการที่ ๔ คือ สังวิภาคะ หมายถึง ความจ�าแนกแจกจ่าย บุคคล
          ผู้เป็นผู้น�าจ�าต้องจ�าแนกแจกจ่ายนโยบาย กุศโลบาย ค�าสั่งค�าสอน โดยชี้แจงแนะน�า พร�่าสอน

          พร�่าแนะให้รู้และเข้าใจในเรื่องบาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ตลอดจนมีความฉลาด

          สามารถจัดสรรแบ่งปันหน้าที่การงานและหลักการวิธีการต่าง ๆ ให้แพร่หลาย กระจาย
          ไปในเพื่อนร่วมงาน ผู้น�าที่ดีต้องไม่รวบอ�านาจผูกขาดแต่ผู้เดียว ต้องส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับ

          บัญชาได้ท�างานเต็มตามศักยภาพของตน เพื่อสร้างงานหรือสร้างองค์กรให้เจริญรุ่งเรือง

          แต่ผู้น�าต้องประคับประคอง เรียกว่า พูดให้เขารู้ ท�าให้เขาดู อยู่ให้เขาเห็น เปนนักเสียสละ
          เสียสละก�าลังกาย ทรัพย์ สติปัญญา ตลอดถึงเสียสละประโยชน์ตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

          ประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ ผู้น�าต้องมีความเอื้อเฟอ รู้จักแบ่งงาน กระจาย

          ต�าแหน่งงาน เข้าต�าราว่า ไม่ยึดเอาไว้คนเดียว ไม่เก็บงานเอาไว้คนเดียว ต้องรู้จักแบ่งงาน
          กระจายงาน ถือคติว่า “กระจุกตาย กระจายรอด” คุณธรรมนี้เป็นคุณสมบัติผู้น�าประการที่ ๔

                  คุณธรรมประการที่ ๕ คือ ทยา แปลว่า ความเอ็นดู มาคู่กับเมตตาความรักและ
          กรุณาความสงสาร บุคคลผู้เป็นผู้น�าจ�าต้องอบรมเมตตากรุณาให้เกิดมีในอัธยาศัย เพราะ

          เมตตากรุณาเป็นคุณธรรมน�าให้เห็นอกเขาอกเรา ให้มีไมตรีจิตมิตรภาพต่อกัน ให้รู้รักสามัคคี

          ในสังคม เมื่อคนในสังคมนิยมความรักความเอ็นดูเป็นเรือนใจ จะไม่เอารัดเอาเปรียบ
          เบียดเบียนรังแกข่มเหงใคร ผู้ใหญ่ที่มีอ�านาจวาสนา จะไม่เหยียบย�่าท�าลายผู้น้อยที่

          ด้อยอ�านาจวาสนา รับเป็นที่ปรึกษาพึ่งพิงในยามขัดข้อง คอยประคับประคองปลอบใจ
          ในยามผิดหวัง เศร้าสร้อยหงอยเหงา คอยเอาใจใส่ให้สติในยามพลั้งเผลอผิดพลาด ไม่คอยหา

          โอกาสจับผิดคิดลงโทษถ่ายเดียว ถ้าผู้น�าเบี้ยว ผู้ตามก็เอน ผู้น�าจึงจ�าต้องมีพรหมวิหารธรรม

          คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นหลัก ถอยห่างจากอคติความล�าเอียง เที่ยงตรงต่อคน
          เที่ยงตรงต่องาน เพราะความต้องการของคนทั่วไปคือ “ความยุติธรรม” นั่นเอง เรียกว่า

          ผู้น�าเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ไม่โหดร้ายใจอ�ามหิต ยามผิดพลาดรู้จักให้โอกาสให้อภัย คุณธรรม

          ข้อนี้เป็นคุณสมบัติประการที่ ๕
                  คุณธรรมประการที่ ๖ คือ อิกขนะ แปลว่า การเห็นการดู การเห็นเป็นอาการของตานอก

          การดูเป็นอาการของตาใน ตานอก คือ ตาเนื้อ ตาใน คือ ตัวปัญญา ผู้น�าต้องมีหูกว้างตายาว

          เข้ากับค�าในภาษาบาลีว่า “ทีฆทสฺสี” แปลว่า “เห็นไกลเห็นยาว หรือคนมีตา หรือหูกว้างตาไกล”
          ดังค�าสมัยใหม่ว่า “มีวิสัยทัศน์กว้างไกล” บุคคลผู้เป็นผู้น�า จ�าต้องนึกถึงค�าโบราณว่า

          “ผู้อยู่สูงให้นอนคว�่า ผู้อยู่ต�่าให้นอนหงาย” ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือผู้ใหญ่
          กับผู้น้อย ให้คอยสอดส่องมองดูกัน โดยเฉพาะผู้ใหญ่ไม่เป็นคนหูเบาใจเบาผู้บังคับบัญชา





        58
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69