Page 62 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 62

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



                  ๑. อดทนตรากตร�า ความอดทนท�างาน ไม่พรั่นพรึงต่อสภาพธรรมชาติ หนาว
          ร้อน  อดทนท�างานด้วยความมุ่งมั่น  งานก็จะสัมฤทธิ์ผลคนจะเป็นสุข ต่างจากคน

          ไม่อดทนท�างาน เบื่อหน่ายงาน งานก็ไม่ส�าเร็จ ชีวิตก็ล้มเหลวได้ ความเกียจคร้านมักอ้างว่า

          หนาวนัก ร้อนนัก ยังเช้าอยู่ เป็นต้น แล้วไม่ท�างาน ไม่มุ่งมั่นงาน ไม่อดทนงาน เป็นอบายมุข
          ทางแห่งความเสื่อมของชีวิต อย่างหนึ่ง

                  ๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ปวย ความไม่สบายกาย
          ของเราเอง ความปวดเมื่อย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินไป เรียกว่า มีใจเข้มแข็งอดทน

          ส่งผลให้ร่างกายเราแข็งแรงต่อสู้โรคภัยได้ คนบางคนอาจมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์
          เพราะมีโรคประจ�าตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น โรคภูมิแพ้ เป็นต้น โรคภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือ

          สาเหตุอื่นก็ตาม ถ้ามีความอดทนต่อทุกขเวทนา เขาก็จะมีจิตใจทรหดพร้อมที่จะฝาฟัน

          อุปสรรคต่าง ๆ อยู่เสมอ ย่อมสามารถประกอบคุณงามความดีต่าง ๆ ได้ ไม่แพ้ผู้ที่มีสุขภาพ
          แข็งแรงสมบูรณ์ ตรงกันข้าม บุคคลที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่เมื่อเจ็บไข้ได้

          ปวยเล็ก ๆ น้อย ๆ อดทนไม่ไหวทุรนทุราย มีก�าลังถดถอยหรือท้อแท้ ขาดก�าลังที่จะท�างาน
          ให้ส�าเร็จลุล่วงไปได้ก็มี อย่างหนึ่ง

                  ๓. อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ
          อันเกิดจากค�าพูดหรือการกระท�าที่ไม่ชอบใจของผู้อื่น ซึ่งอาจจะมีการกระทบกระทั่งด้วย

          ค�าพูดเยาะเย้ยถากถาง ด้วยกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนความไม่ยุติธรรมทั้งจาก
          ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานทุกฝาย ความเจ็บใจเกิดจากกิเลสตระกูลโทสะ ซึ่งแฝงอยู่ในใจ

          ของทุกคนตั้งแต่เกิด ถ้าคนเราสามารถข่มกิเลส คือ โทสะให้สงบลงได้ แม้ใครจะแสดง
          พฤติกรรมชั่วร้ายกระทบกระทั่งก้าวร้าวต่อเรา เราก็สามารถวางเฉยได้ด้วยใจสงบ ความเจ็บใจ

          ย่อมไม่เกิดขึ้นตามธรรมดานั้น เราไม่สามารถห้ามผู้อื่นมิให้แสดงพฤติกรรมกระทบกระทั่ง

          เราได้ แต่เราสามารถข่มใจของเราเองให้สงบได้ ด้วยการไม่ถือโทษโกรธผู้อื่นหรือด้วยการ
          ให้อภัยทาน ถ้าเราสามารถท�าได้ความร้าวฉานความอาฆาตบาดหมางระหว่างตัวเราและผู้อื่น

          ย่อมไม่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม ผู้ไม่อดทนก็จะแสดงอาการเกรี้ยวกราดโมโห แสดงอาการโกรธขึ้ง
          หรือพยาบาทต่อผู้อื่น ความโกรธพยาบาทนี้แลบดบังสติปัญญาของตนเสีย มองไม่เห็น

          ความดีของผู้อื่นอย่างหนึ่ง
                  ๔. อดทนต่ออ�านาจกิเลส เป็นการอดทนต่อโลภะความโลภอยากได้ของผู้อื่น โทสะ

          ความโกรธ และโมหะความหลง อารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจดึงใจของเราให้ตกต�่า

          ถ้าไม่รู้จักอดทนระงับ เพราะเครื่องยั่วยวนชวนให้หลงนั้นมีมาก บุคคลผู้มีความอยาก
          เป็นเจ้าหัวใจไม่อดไม่ทนปล่อยไปตามใจ ผู้ตามใจความอยาก จึงตกยากไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัว




        56
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67