Page 58 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 58

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          ของใจ การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกท่านจะต้องมีศรัทธา มีหิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา นั้น

          เพราะธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ มีปรากฏขึ้นในใจมีอยู่ประจ�าใจแล้ว ย่อมเป็นแรงกระตุ้นชักชวน
          ชักน�าให้บ�าเพ็ญให้มีธรรมอื่น ๆ ให้ได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในธรรมะทั้ง ๕ ประการนั้น คือ

                  ประการที่ ๑ ศรัทธา ความเชื่อ คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง และพระพุทธเจ้า

          ก็มีพระองค์จริงคือมีตัวตนจริง ไม่ใช่แบบพระเจ้าบนสวรรค์ พระพุทธเจ้า ก็คือ ผู้เป็นคน

          อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละประสูติในประเทศอินเดีย ที่เรียกว่า มัชฌิมประเทศ และท่าน
          ก็ปรินิพพานมา ๒๕๖๐ ปีแล้ว เป็นคนจริง ๆ ความตรัสรู้ของพระองค์ที่เป็นธรรมก็น่าอัศจรรย์

          จริง ๆ อย่างนี้เป็นเหตุให้ท�าอะไรแล้วก็นึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ ถ้าจะผิดจากค�าสั่งสอน

          ของพระพุทธเจ้าแล้วจะไม่ยอมท�า เราเชื่อกรรมอย่างหนักแน่น ว่าสิ่งที่เราท�านี้เป็นกรรม

          กรรมที่เราท�านี้ย่อมได้รับผลเป็นของเรา เป็น “อตฺตช� อตฺตสมฺภว�” เกิดจากตนสมภพเป็นพร้อม
          มีพร้อมที่ตนเท่านั้น ท�าแล้วแบ่งให้คนอื่นไม่ได้ เงินทองข้าวของทรัพย์สมบัติ ท�าพินัยกรรม

          ให้ลูกให้หลานได้ ลูกหลานอยู่ข้างหลังรับมรดกนั้นได้ แต่กรรมนี้ท�าพินัยกรรมให้ใครก็ไม่

          ได้ของใครก็เป็นของเขาผู้นั้น คือของใครของมัน และกรรมนี้ต้องให้ผลหรือมีผลแน่นอน

          เราท�ากรรมดีให้ผลดี เราท�ากรรมชั่วให้ผลชั่ว ผลดีผลชั่วก็ของเราเท่านั้น ให้คนอื่นไม่ได้
          จะแบ่งให้คนอื่นช่วยรับเสียบ้างก็แบ่งไม่ได้ ทั้งฝายดีฝายชั่วนั้นแหละ เราเชื่ออย่างนี้

          ก็เป็นเหตุยับยั้งไม่ให้เราท�ากรรมชั่ว กระท�าแต่กรรมดีแน่นอน

                  ประการที่ ๒ หิริ ความละอายแก่ใจ เกลียดชังขยะแขยงต่อความชั่วทุจริต

          เหมือนบุคคลผู้รักความสะอาดรักสวยรักงาม ไม่ยอมจับต้องแตะต้องของสกปรกโสโครก
          เมื่อเราไม่ประพฤติทุจริตหรือท�าทุจริตด้วยกาย วาจา และใจ ใจคอก็โล่งปลอดโปร่งสบาย

          ดังค�าพระบาลีที่ว่า “สุจารี สุขิโต โหติ คนที่สุจริตย่อมมีความสุขอยู่เสมอ” เพราะฉะนั้น

          ธรรมะแต่ละประการจึงเรียกว่า ทรัพย์ภายใน ศรัทธาก็เป็นเหตุให้บ�าเพ็ญกุศลอย่างอื่น

          พอกพูนเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง
                  ประการที่ ๓ โอตตัปปะ ก็เป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้ท�าชั่ว และท�าใจให้ขะมักเขม้น

          ในการที่จะได้บ�าเพ็ญธรรมชั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

                  ประการที่ ๔ วิริยะ ความเพียร ก็เป็นเหตุให้ขยันหมั่นเพียรในการประกอบกิจ

          อันจะเป็นคุณเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น โดยรวมก็คือ ทั้งประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์
          ในชาติหน้าเมื่อจบชีวิตไปแล้ว และประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน







        52
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63