Page 56 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 56

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



                  เมื่อพระพุทธองค์ตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงน้อมเรื่องความจนทรัพย์สินเข้าหาธรรมอันเป็น
          คนจนภายในว่า “คนเราเมื่อยากจนทรัพย์สมบัติภายใน คือ ธรรม ไม่มีธรรมประจ�าใจ

          ก็เปนทุกข์” เช่นเดียวกัน เพราะใจจะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ใจจะอยู่ว่าง ๆ ไม่ได้ จะต้องมีที่เกาะ

          ที่ยึดเหนี่ยว คือ ต้องมีอารมณ์

                  เพราะฉะนั้น เมื่ออารมณ์ไม่แน่นอน จิตใจก็ไม่แน่นอน จึงต้องมีธรรมหรือเข้าหาธรรม

          คนที่ไม่มีธรรมเรียกว่า “คนจนใจ” อันธรรมที่จะต้องมีในที่นี้ ตามที่ทรงแสดง ก็คือ ศรัทธา
          หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปญญา ถ้าจิตใจไม่มีธรรมทั้ง ๕ นี้อยู่ประจ�าใจ ก็ไม่ต่างอะไรกับ

          คนที่ไม่มีทรัพย์สมบัติ ไม่มีทรัพย์สินเงินทอง เขาจะต้องประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

          การประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ นี้ก็คือ การกู้หนี้ยืมสิน เมื่อประพฤติทุจริตด้วยกาย

          วาจา และใจ กาย วาจา ใจ ก็ไม่สุจริต คนที่ไม่สุจริตนั้น ย่อมคิด ย่อมท�า ย่อมหาทางออก
          แต่ในทางไม่ดี ย่อมปรารถนา ย่อมแสดงเล่ห์กล เพื่อปกปิดความชั่ว ความเลวร้ายของตน

          ที่ตนได้กระท�าไว้นั้น ด้วยหวังไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่า ตนเป็นคนอย่างนั้น การปกปิดความชั่วที่ท�าไว้นี้แหละ

          ก็คือ การต้องส่งใช้ดอกเบี้ย มิฉะนั้นจะอยู่ในสังคมในหมู่คณะไม่ได้ ไม่ว่าหมู่คณะไหน

          จะเป็นหมู่คณะพระภิกษุสามเณร หรือหมู่คณะอุบาสกอุบาสิกา โดยเฉพาะในหมู่พระภิกษุ
          สามเณร ถูกเพื่อนภิกษุสามเณรผู้ประพฤติเรียบร้อย มีศีลหนักแน่นในพระธรรมวินัย

          ตักเตือนโจษท้วงขึ้น อาการที่ถูกตักเตือนโจษท้วงขึ้นนี้ ก็คือ การถูกทวงหนี้นั่นเอง

          เขาผู้มีความประพฤติเช่นนี้จะอยู่ในที่ใด ๆ ไม่ว่าอยู่ปา อยู่โคนไม้ หรืออยู่ที่สงบสงัดอย่างไร

          ก็ถูกอกุศลวิตก คือ ความตรึกที่เป็นอกุศล ๓ อย่างครอบง�าอยู่เสมอ คือ
                  ๑. กามวิตก ตรึกนึกคิดในเรื่องกาม คือ เห็นแก่ตัว

                  ๒. พยาบาทวิตก ตรึกนึกคิดแต่ในเรื่องพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น ท่านอื่น

                  ๓. วิหิงสาวิตก ตรึกนึกคิดแต่ในการที่จะเบียดเบียนผู้อื่น ใส่ร้ายปายสีผู้อื่น

                  อาการที่เขานึกแต่ในเรื่องของอกุศลวิตก คือ นึกชั่ว นึกไม่สบายใจ อย่างนี้ ก็เปรียบ
          เหมือนกับการถูกตามหาตัว ผู้เป็นเช่นนี้ จะร�่ารวย จะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นคฤหบดี

          มหาศาล มีฐานะชื่อเสียงอย่างไรก็ตามที แต่เมื่อจบชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ คือ ตกอบายภูมิ

          อาการที่เข้าถึงทุคติ คือ จิตตกอบายภูมิเช่นนี้ ก็เหมือนการที่ถูกจองจ�ากักขังนั่นเอง

                  เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เรื่องของความจนในทางโลกว่า เป็นทุกข์แล้ว
          ก็ทรงแสดงความจนในทางธรรม คือ ความจนทางใจ โดยนัยดังที่เปรียบเทียบชี้ให้เห็น

          ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ ผู้ไม่มีธรรม หรือไม่มีหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไว้ประจ�าใจแล้ว




        50
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61