Page 59 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 59
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
ประการที่ ๕ ปญญา ก็เป็นเครื่องส่งเสริมให้รู้ดีรู้ชอบ เห็นดีเห็นชอบ รู้จักบาปบุญ
คุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นธรรมะอันเป็นต้นเหตุเมื่อมีอยู่ครบถ้วนแล้ว
ก็สามารถที่จะท�าให้เกิดดอกออกผลงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ธมฺมจารี สุข� เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ผู้ประพฤติธรรมตั้งอยู่
ในธรรมะ ย่อมอยู่เปนสุขสบายทั้งในบัดนี้ และต่อไปภายภาคหน้า” ท่านสาธุชนทั้งหลาย
ได้ทราบชัดพระพุทธภาษิต อันว่าด้วย “ความจนใจ” เพราะไม่มีธรรมะ คือ อริยทรัพย์
ในพระพุทธศาสนาแล้ว ควรปลูกอริยทรัพย์ให้มีขึ้นที่ใจ ส�าหรับเรื่องของความจนภายนอกหรือ
ความมั่งมีภายนอกนั้น เราไม่สนใจ เมื่อมีเราก็อาศัยมัน เพียงแต่ว่า อาศัยบ�าเพ็ญประโยชน์
เท่านั้น ไม่ติด ไม่ข้อง ไม่วุ่น ด้วยทรัพย์สมบัตินั้น ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย เมื่อมีทรัพย์ภายนอก
ก็เพียงแต่ว่า อาศัยมันบ�าเพ็ญธรรมอันเป็นทรัพย์ภายใน ให้มีปรากฏขึ้นที่ใจ แต่นั้นก็ได้ชื่อว่า
เป็นผู้ไม่ยากจนขัดสน ดังพระพุทธนิพนธ์ที่ตรัสไว้ว่า “อทลิทฺโทติ ต� อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิต�”
“นักปราชญ์ราชบัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่าเปนคนไม่จนใจ และชีวิตของเขาก็ย่อมไม่เปน
โมฆะ คือว่างเปล่าจากประโยชน์เลย” ดังมีอรรถาธิบายตามแนว ทาลิททิยสูตร ในฉักกนิบาต
อังคุตตรนิกาย ที่ได้บรรยายมา “รตนตฺตยานุภาเวน รตนตฺตยเตชสา สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิท�
ผล� เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส” ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย ด้วยเดช
แห่งพระรัตนตรัย ขอผลส�าเร็จตามที่ทุกท่านผู้มีความเลื่อมใสหนักแน่นในพระรัตนตรัย
จงส�าเร็จตามมโนปณิธานแห่งความปรารถนาทุกประการ ดังที่ได้ให้อรรถาธิบายบรรยายมา
ก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติลงคงไว้แต่เพียงนี้ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้
53