Page 57 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 57

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ได้ชื่อว่า คนจนภายใน คือ จนใจ คนไม่มีหลักธรรม ก็ไม่มีหลักความประพฤติ ไม่รู้ดี รู้ชอบ

              ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ย่อมท�าทุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ค�าว่า ทุจริตในที่นี้
              มิได้หมายความว่า ท�าชั่วชนิดที่เสียหายเลื่องลือ หรือเสียชื่อเสียงทั่วโลกอย่างเดียว ค�าว่า

              ทุจริตในที่นี้ ในทางโลกอาจจะมองเห็นว่า ดีก็ได้ แต่ในทางธรรม เรียกว่า ทุจริตอยู่นั่นเอง

              เช่น แสวงหาทรัพย์ให้ได้มาด้วยความไม่บริสุทธิ์ เมื่อได้มาแล้ว ก็มั่งมีศรีสุข สมบูรณ์บริบูรณ์

              ในทางโลกเขามองเห็นว่า คนที่มั่งมีศรีสุขแบบนั้นเป็นคนดี แต่ในทางธรรมยังเรียกว่า ท�าทุจริต
              อยู่นั่นเอง คือ คนประพฤติชั่ว คนที่ประพฤติชั่วเช่นนั้น จะต้องปกปิดความชั่วของตัวไว้ ต้องคิด

              ต้องหวัง ต้องปรารถนาไม่ให้คนทั้งหลายรู้ว่า ตนมีความประพฤติเสียหาย อาการที่ท�าความ

              ปกปิดแบบนี้ เป็นการที่ส่งดอกเบี้ย คือ ท�าจิตใจนั้น มีความเศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา คนอื่นไม่รู้

              แต่ตัวเราเองรู้อยู่แก่ใจ จิตใจก็ไม่สบาย เพื่อน ๆ ผู้ที่รักสุจริตก็รังเกียจเกลียดชัง นี้แหละคือ
              การที่ถูกทวงหนี้ จิตใจชอบคิดอยู่เสมอ ในเรื่องของความไม่ดี อันนี้แหละ คือ การที่ถูกตามหาตัว

              เมื่อจบชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ คือ จิตตกอบายภูมิ ก็คือ การที่ถูกจองจ�ากักขังอยู่ในคุกนั้นเอง

                      ดังนั้น ที่ว่าความจนภายนอกเป็นทุกข์ แต่มันเป็นทุกข์ด้วยเรื่องภายนอก มิใช่ภายใน

              ไม่รุนแรงอะไรเท่ากับความจนภายใน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ความจนภายในเมื่อมีขึ้นแล้ว
              จิตใจก็เดือดร้อน กระสับสระส่าย ทุรนทุราย หาความสุขไม่ได้ มองไม่เห็นอรรถ ไม่เห็นธรรม

              ไม่เห็นดี ไม่เห็นชั่ว ไม่มีเหตุผลใด ๆ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ท่านสาธุชนผู้นับถือพระพุทธศาสนา

              ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชน จึงควรบ�าเพ็ญธรรมให้ปรากฏขึ้น ให้มีขึ้นในใจ ธรรมที่มุ่งกล่าวในบท

              พระบาลีนั้น ก็คือ
                      ศรัทธา ความเชื่อ ๑

                      หิริ ความละอายแก่ใจ ไม่กล้าที่จะประพฤติชั่ว ท�าชั่ว เป็นอันขาด ๑

                      โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เกรงว่า ความชั่วจะส่งถึงตนแน่นอน ๑

                      วิริยะ ความเพียรบากบั่นมุ่งมั่นในการที่จะท�าความดี โดยรีบท�า ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ๑
                      ปญญา ความรอบรู้ ในเหตุ ในผล ใช้เหตุผลเข้าแก้ปัญหา ๑

                      ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐสูงสุด เป็นทรัพย์ภายใน

              ธรรมข้ออื่น ก็เป็นทรัพย์เหมือนกัน แต่ที่ตรัสไว้ดังที่กล่าวมานี้ ก็พอแก่ความประสงค์ พอแก่ก�าลัง

              ในการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น พุทธบริษัท จึงควรก�าหนดพิจารณาว่า ในทางพระพุทธศาสนานั้น
              ธรรม คือ ค�าสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นทรัพย์ภายใน คือ ทรัพย์ของใจ เทียบได้กับทรัพย์สิน

              แก้วแหวน เงินทอง ข้าวของ ที่เป็นทรัพย์ภายนอก อันเป็นทรัพย์ของกาย ส่วนธรรมะเป็นทรัพย์




                                                                                                51
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62