Page 69 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 69

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              อยู่ภายใต้การกดขี่มีความทุกข์ยากแสนสาหัส เราจะมีความสุขเพียงคนเดียวได้อย่างไร

              จึงคิดสละความสุขส่วนตัวเพื่อความสุขของคนส่วนรวม เพื่อจะได้ช่วยให้คนทั้งหลาย
              ได้พ้นจากความทุกข์นั้น คิดได้ดังนั้น จึงสละทรัพย์สมบัติอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ

              เพื่อประชาชน เดิมทีท่านมหาตมคานธีเป็นคนชื่นชอบอ่านวรรณคดีภาษาอังกฤษ อ่านแล้ว

              มีความเข้าใจลึกซึ้ง จนกระทั่งวันหนึ่งเห็นว่า ตนเองไม่ควรที่จะไปชื่นชอบวรรณคดีของ

              ชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นประเทศมหาอ�านาจกดขี่ประชาชนในประเทศของตน จึงหันมาศึกษา
              วรรณคดีประเทศของตนอย่างละเอียด อ่านเพื่อจะได้น�ามาเขียนเป็นภาษาของตนเอง

              แต่การจะท�าอย่างนั้นได้ก็ต้องเสียสละความรื่นรมย์ในการอ่านวรรณคดี ภาษาอังกฤษ

              เป็นการเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และท่านยังได้เสียสละ

              ความสุขของตนเอง ด้วยการมาเป็นผู้น�าทางการเมือง ที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย
              จากอังกฤษโดยใช้หลักสันติวิธีหรือแบบอหิงสา เช่น อดอาหารประท้วงและการไม่นิยมใช้

              ความรุนแรง จนท�าให้อังกฤษยอมคืนเอกราชให้ เรื่องราวของท่านมหาตมคานธีนี้ แสดงให้

              เห็นถึงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังพระบาลี

              บทหนึ่งว่า “จเช ธน� องฺควรสฺส เหตุ” เป็นต้น ซึ่งแปลความว่า “พึงสละทรัพย์เพื่อเห็นแก่อวัยวะ
              พึงสละอวัยวะเพื่อเห็นแก่ชีวิต พึงสละทรัพย์อวัยวะและชีวิตเพื่อเห็นแก่ธรรม” คนเรา

              เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ปวยอวัยวะอาจจะช�ารุดเสียหาย จ�าต้องสละทรัพย์เพื่อการรักษา

              แต่หากว่าอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งกลายเป็นพิษ จ�าเป็นต้องตัดแขนตัดขาเพื่อรักษาชีวิต

              เอาไว้ เราก็จ�าเป็นต้องตัดอวัยวะนั้น ๆ เพื่อรักษาชีวิต แต่เมื่อหวนระลึกได้ว่า เมื่อต้องการ
              รักษาอุดมการณ์ที่ส�าคัญสูงสุดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมจ�าเป็นต้องรักษาธรรม

              สามารถจะสละได้ทั้งทรัพย์ อวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาธรรม จึงจ�าเป็นต้องมีความเสียสละ

              อย่างยิ่งใหญ่ แต่คนเราในปัจจุบันนี้ บางครั้งบางทีมักจะมองเห็นความสุขส่วนตัวส�าคัญกว่า

              ประโยชน์สุขของส่วนรวม เมื่อเป็นเช่นนี้ สังคม ประเทศชาติ และพระศาสนา ก็จะเจริญ
              รุ่งเรืองได้โดยยาก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายผู้มีปัญญา เมื่อเล็งเห็นประโยชน์สุขของส่วนรวม

              ที่ยิ่งใหญ่กว่า จึงควรยอมเสียสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียบ้าง เพื่อความเจริญรุ่งเรือง

              เพื่อความสุขของสังคม ประเทศชาติ และพระศาสนาต่อไป












                                                                                                63
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74