Page 76 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 76
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
เพราะความกลัว” โดยอธิบายว่า แม้จะถูกกดขี่ขมขู่จากผู้ที่สูงกว่าโดยอ�านาจวาสนา ซึ่งตน
ไม่สามารถอาจต่อสู้ได้ ก็ควรอดทนไว้เพื่อรักษาตนให้พ้นภัยที่หากจะเกิดมีและท่านที่สูงกว่า
โดยฐานที่เคารพนับถือตักเตือน ว่ากล่าว สั่งสอน แม้จะเป็นถ้อยค�าหยาบคาย ไม่สุภาพก็อดทน
เพราะถ้อยค�าเช่นนั้นประกอบด้วยผล กล่าวคือ จะท�าตนให้ละความชั่วแล้วประพฤติความดี
เจริญทวีด้วยความรู้ ความสามารถ ทั้งยังเป็นบุญ โกฏฐาส ส่วนอัปจายนมัยกุศล เกิดแต่ตน
ที่เคารพนบนอบย�าเกรง สมตามบาลีคาถาว่า “โย จีธ หีนสฺส วโจ ขเมถ, เอต� ขนฺติ อุตฺตม
มาหุ สนฺโต” ความว่า “ส่วนว่าถ้าผู้ใดอดทนถ้อยค�าของคนที่ต�่ากว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าว
ความอดกลั้นของผู้นั้นว่า เปนขันติธรรมอย่างสูงสุด” ขันติความอดทนมีอานิสงส์
ผลดังพรรณนามา สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงจัดเป็นฆราวาสธรรมประการที่ ๓
การให้ข้อที่ ๔ เรียกตามภาษาบาลีโดยมากว่า “ทานะ” แต่ในที่นี้เรียกว่า “จาคะ”
เสียสละแผ่เผื่อ เจือจาน ฐานผู้ครองเรือนจะพึงบ�าเพ็ญ เพราะเป็นกิจจ�าเป็นประการหนึ่ง
ของบุคคลผู้อยู่เป็นหมู่เหล่า ข้อนี้จักพึงเห็น เช่น ในตระกูลหนึ่งมารดาบิดากับบุตรธิดา
สามีกับภรรยา ญาติกับญาติ มิตรกับมิตร ยังต้องแผ่เผื่อเจือจานกันด้วยการให้ปันพัสดุ
ข้าวของตามโอกาสคราวสมัย เพราะการให้อย่างนี้นับว่า เป็นการสังเคราะห์ยึดเหนี่ยวน�้าใจ
ของกันและกันได้ ในพจนประพันธพุทธภาษิตว่า “ทท� มิตฺตานิ คนฺถติ” “ผู้ให้ย่อมผูกมิตร
ไมตรีไว้ได้” คนผู้มีอัธยาศัยไม่ตระหนี่ โอบอ้อมอารี มีใจประกอบด้วยเมตตาแก่คนยากจน
ขัดสน สละทรัพย์ของตนให้เพื่ออุปถัมภ์โดยฐานที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็ดี เกื้อกูลอุดหนุน
การศึกษาเพื่อให้วิทยาความรู้ ความสามารถ ทะนุบ�ารุงพระศาสนาอันสั่งสอนประชานิกร
ให้ละชั่ว ประพฤติชอบก็ดี การเสียสละที่ประกอบด้วยประโยชน์เห็นปานนี้ จัดว่าเป็น
“จาคะ” เป็นการเสียสละไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตนถ่ายเดียว แลเหลียวถึงผู้อื่นที่ตนจะพึง
สละความสุขให้โดยทั่วถึง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความชื่นบานด้วยกันทั้ง ๒ ฝาย คือ ผู้ให้และ
ผู้รับทั้งหลาย ยังประโยชน์ให้ส�าเร็จทั่วไปไม่จ�ากัดเฉพาะบุคคล เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ของชนทั่วไป ตรงข้ามกับผู้ขอย่อมเป็นที่เบื่อหน่ายเกลียดชังของชนทั่วไป เหตุนั้น
สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาจารย์ จึงตรัสว่า เป็นฆราวาสธรรมประการสุดท้ายเป็นค�ารบ ๔
สรุปความว่า “ธรรม คือ ความสัตย์ ความข่มใจ ความอดทน และการเสียสละ”
ทั้ง ๔ ประการนี้ ของบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนมีอยู่พร้อมมูล บุคคลนั้นชื่อว่า
“ยึดคุณอันเปนสาระแก่นสารแห่งชีวิตและโภคทรัพย์ของตนไว้ได้” เป็นผู้มีจิตใจแจ่มใส แช่มชื่น
เบิกบานว่า ได้กระท�าการที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนและแก่คนทั้งหลาย ถ้ายังมิได้
70