Page 75 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 75

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ในทวารนั้น ๆ ย่อมเกิดขึ้นทันที ยากที่สติจะเหนี่ยวรั้งไว้ได้ทัน ทั้งสามัญชนทั้งหลายเล่า

              ย่อมต่างกันโดยจริตอัธยาศัยดีบ้าง ชั่วบ้าง หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ไม่เสมอกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น
              เมื่อฝายหนึ่งแสดงกิริยาท่าที่กายวาจาอันไม่เป็นที่พอใจของอีกฝายหนึ่ง ถ้าฝายที่ถูกว่า

              ถูกท�านั้น จะบันดาลโทสะขึ้นบ้าง ก็จะเกิดวิวาทบาดหมางผิดใจกันขึ้น โดยมิต้องสงสัย

              ความผิดใจกันนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อแตกสามัคคีธรรม ซึ่งจะน�าผลที่เป็นโทษมิได้เป็นประโยชน์

              มาให้แก่กันและกันทั้งสองฝาย ถ้ามีสติเล็งเห็นโทษอันจะเกิดขึ้นเพราะผู้อื่น เป็นเหตุแล้วน้อมใจ
              ไปในขันติอดทนความล่วงเกินนั้นเสียได้ ข้อนี้แลเป็นอุบายวิธีที่จะตัดต้นเหตุแห่งผลร้ายนั้น

              ให้สงบลง เหตุดังนั้นพุทธาทิบัณฑิตผู้ยินดีในความสงบระงับดับเวรภัย จึงสั่งสอนให้ตั้งอยู่

              ในขันติ ความอดทน เพื่อรักษาประโยชน์ตนแลคนอื่น ทั้ง ๒ สถาน ขันตินั้น เมื่อจะกล่าว
              โดยลักษณาการมี ๓ สถาน คือ ทนตรากตร�า ทนล�าบาก ทนเจ็บใจ ความอดทนต่อหนาว ร้อน

              ลม แดด สัมผัสเหลือบยุง แลสัตว์เลื้อยคลาน มุ่งหน้าประกอบกิจการงานเปนใหญ่ไม่พรั่นพรึง

              หวั่นไหวต่อหนาวร้อนเปนต้น ชื่อว่า “ทนตรากตร�า” ความอดทนต่อทุกขเวทนาในเวลา

              ปวยไข้ ไม่ท�าใจให้อาดูรกระสับกระส่ายไปตาม ชื่อว่า “ทนล�าบาก” ความอดทนต่อ

              การหมิ่นประมาทที่ผู้อื่นกระท�า มีกล่าวค�านินทาว่าร้ายเปนต้น ชื่อว่า “ทนเจ็บใจ”
              ขันติทั้ง ๓ นี้ ให้ผลดีงามตามหน้าที่ของแต่ละอย่าง “ความทนตรากตร�า” ย่อมเปนปจจัยให้

              กระท�าการงานส�าเร็จลุล่วงไป “ความทนล�าบาก” ย่อมเปนปจจัยมิให้เสียสติสัมปชัญญะ

              ซึ่งเปนคุณที่ต้องประสงค์ในมรณสมัย “ความทนเจ็บใจ” ย่อมเปนปจจัยมิให้ประพฤติ
              ผิดพลั้งพลาดด้วยอ�านาจโทสะเข้าครอบง�า ความทนตรากตร�าแลทนล�าบาก ๒ ประการ

              ได้ชื่อว่า “ขันติ” แต่โดยปริยาย ส่วน “ความทนเจ็บใจ” ได้ชื่อว่า “ขันติโดยตรง”  เรียกว่า

              “อธิวาสนขันติ” แปลว่า “ความอดกลั้นไว้” แต่ต้องอดกลั้นได้ด้วยน�้าใจที่ประกอบ

              ด้วยธรรม จึงจะเป็นการชอบ ผู้ใดถูกเขาดูหมิ่นด้วยการแสดงกิริยาอาการทางกายหรือ

              กล่าววาจาหยาบคาย ได้ความเจ็บใจแต่ไม่อาจท�าตอบเขาได้จ�าต้องทนนิ่งอยู่ ผู้นั้นไม่ชื่อว่า
              ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ แต่ก็ยังเป็นคุณความดีเครื่องรักษาตนให้พ้นภัย ฝายผู้ใด

              ถูกเขาดูหมิ่นเช่นนั้น แม้สามารถจะท�าตอบได้แต่ก็อดกลั้นไว้ด้วยโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณา

              เห็นในใจโดยอุบายที่ชอบ ผู้นั้นได้ชื่อว่า ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ เป็นที่สรรเสริญของ

              พุทธาทิบัณฑิต ต้องด้วยพจนสุภาษิตของสรภังคดาบสซึ่งปรากฏว่า เป็นพระโพธิสัตว์เมื่อ
              ท้าวสักกเทวราช มีเทพด�ารัสตรัสถามถึง ขันติ มีประการต่าง ๆ ได้ถวายพระพรทูลพยากรณ์

              แก้ปัญหา เป็นต้นว่า “ภยา หิ เสฏสฺส วโจ ขเมถ” “พึงอดทนถ้อยค�าของบุคคลที่สูงกว่า




                                                                                                69
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80