Page 87 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 87

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              การเบียดบังทรัพย์นั้น ยิ่งไปกว่านั้นเธอเห็นเองว่า “อริยทรัพย์ภายในที่เธอได้รับจากการ
              ฟงธรรมของพระพุทธเจ้ามีค่ายิ่งกว่าทรัพย์ภายนอก เธอมีความสันโดษ คือ ความรู้จักพอ

              ขึ้นในใจ จึงไม่ปรารถนาที่จะเบียดบังเงินค่าดอกไม้อีกเลย” ทั้งนี้ เพราะสันโดษ คือ ความพอใจ

              ตามมี ยินดีตามได้ ท�าให้เกิดความพอเพียงดังพระบาลีที่ว่า “สันตุฏฐี ปะระมังธะนัง ความ

              รู้จักพอเปนยอดทรัพย์” สมด้วยภาษิตอุทานธรรมที่ว่า

                           “ความไม่พอใจจนเปนคนเข็ญ  พอแล้วเปนเศรษฐีมหาศาล
                          จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ         จงคิดอ่านแก้จนเปนคนมี”

                      ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานแก่ พสกนิกรชาวไทยและชาวโลก

              ย่อมเป็นหลักการด�าเนินชีวิตที่ปองกันการทุจริตและประพฤติมิชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
                      โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกิดจากการนึกถึงภัยหรือความทุกข์ที่เป็นผลจาก

              การท�าบาป ความกลัวบาปที่ควรนึกถึงมี ๔ ประการ คือ

                      ๑) อัตตานุวาทภัย ความกลัวถูกตนเองต�าหนิติเตียน หมายถึง กลัวการมีวิปปฏิสาร

              หรือความส�านึกผิดที่จะคอยติดตามเผาลนจิตใจ
                      ๒) ปรานุวาทภัย ความกลัวผู้อื่นติเตียน หมายถึง กลัวการถูกสังคมประณามหรือ

              กลัวการถูกสื่อมวลชนประจาน เป็นต้น

                      ๓) ทัณฑภัย ความกลัวถูกลงอาญา หมายถึง กลัวโทษปรับจองจ�าหรือประหารชีวิต

              รวมทั้งการถูกยึดทรัพย์ตามที่กฎหมายก�าหนด
                      ๔) ทุคติภัย ความกลัวทุคติ หมายถึง กลัวการรับโทษในนรก เป็นต้น ภายหลังจาก

              สิ้นชีวิตไปแล้ว

                      โอตตัปปะ ความกลัวบาป ชนิดที่ ๔ คือ ทุคติภัยนี้ เป็นเรื่องที่ พระสารีบุตร ได้พยายาม

              ปลูกฝังในใจของ ธนัญชานิพราหมณ์ แม้พระราชนิพนธ์ใน พระมหาธรรมราชาลิไท เรื่องไตรภูมิ
              พระร่วง ก็สอนให้คนไทย กลัวบาปกรรม กลัวการตกนรกหมกไหม้ วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิ

              พระร่วงนี้ จึงได้ท�าหน้าที่คุ้มครองปองกันระบบศีลธรรมของสังคมไทยในอดีตมาอย่างยาวนาน

              คนไทยสมัยโบราณ งดเว้นการประพฤติทุจริต เพราะกลัวผลแห่งบาปกรรม ตามกฎแห่งกรรม
              ที่ว่า “ท�าดีได้ดี ท�าชั่วได้ชั่ว”










                                                                                                81
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92