Page 26 - วารสารสายตรงศาสนา ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖ (สิงหาคม - กันยายน ๒๕๖๖)
P. 26
๒. การเก็บรักษาทรัพยสินของผูอื่นโดยผิดยุติธรรม มีการกระทําผิดในแงมุมนี้ อยูหลายลักษณะดวยเหมือนกัน คือ
ก. ลูกหนี้ไมยอมชําระหนี้หรือพวกเหนียวหนี้ อยางนี้ ถือวาขาดความรับผิดชอบ เพราะตอนไปกูยืมเขาก็ตั้งใจอยางดี
แตพอถึงเวลาจะตองคืนเขากลับไมพยายามที่จะทําหนาที่ของลูกหนี้ที่ดี อาจทำใหเจาหนี้ตองเสียหายได เพราะเขาก็มี
ความจําเปนที่จะตองใชทรัพยสินของเขาเหมือนกัน
ข. ผูที่รับซื้อของโจร คือรูวาของที่ซื้อมานั้นเปนของที่เขาขโมยมา เรียกวาเปน “ของโจร” เปนของที่ไดมาโดยผิดกฎหมาย
และยังไปซื้อมาอีกอยางนี้ถือเปนความผิดในฐานะรวมกระทําความผิดดวย
ค. การไมคืนของที่เก็บไดหรือของที่มีคนฝากไว สิ่งของเหลานี้มิใชของเรา ดังนั้นเราตองคืนใหเจาของโดยเร็ว
ถาหากเจาของไมพบก็ตองนําสิ่งนั้นสงใหเจาหนาที่ประกาศหาเจาของตอไป หรืออยางนอยถาไมสามารถคืนเจาของไดจริง ๆ
ตองนำทรัพย สินนั้นไปใชในสาธารณะกุศล หรือจะปรึกษากับพระสงฆก็ได
๓. การจงใจทำลายทรัพยสินของผูอื่น เชน เวลา โกรธหรือโมโหผูอื่นก็นําไฟไปเผาบานเขาเสียหรือบางครั้งปลอยปะ
ละเลยไมดูแลสัตวเลี้ยงของตน ปลอยใหไปทำลายทรัพยสินหรือกอความรําคาญใหผูอื่น
๔. รวมมือในการทําผิดพระบัญญัตินี้ เชน การทำหนาที่เปนตนทางใหผูอื่นขโมยหรือรวมมือกันฉอโกงผูอื่นหรือ
ทำลายทรัพยสินของผูอื่น เปนตน
อยางไรก็ดีตองระลึกเสมอวาการทําผิดพระบัญญัตินี้เกิดขึ้นไดงาย ๆ ถาเราไมรูจักบังคับตนเอง บังคับใจตัวเองไมใหโลภ
อยากไดทรัพยสินของผูอื่นเราก็จะไมเกิดความเคยชินในการกระทําผิดในเรื่องนี้หรือพูดงาย ๆ เราจะไมมักไดในทรัพยของเขานั่นเอง
เราจะใหความยุติธรรมทุกกรณีและมีจิตเมตตาตอผูอื่นอีกดวย
และอยาลืมวาบาปผิดตอความยุติธรรมนี้จะไดรับการยกตอเมื่อตองชดเชยทรัพยสินสิ่งของที่เราทําผิดนั้นใหกับ
ผูเสียหายดวย มิฉะนั้นบาปจะไมหลุดในกรณีหาใชคืนเขาไมไดจริง ๆ ตองทําการตกลงกันใหเรียบรอยดวย.... พูดงาย ๆ
ก็คือเราตองคืนความยุติธรรมใหเขานั่นเอง.
บทที่ ๒๕
อยาพูดเท็จใสรายผูอื่น
พระบัญญัติทั้งประการที่ ๗ และ ๑๐ เปนเรื่องการผิดยุติธรรมหรือการละเมิดตอทรัพยสินของผูอื่น ในพระบัญญัติ
ประการที่ ๘ เปนเรื่องการผิดยุติธรรมหรือการละเมิดสิทธิ์ตอชื่อเสียงของผูอื่น ตางกันตรงสิ่งที่ถูกละเมิด กลาวคือ
เปนความผิดตอวัตถุในประการที่ ๗ และ ๑๐ สวนประการที่ ๘ เปน เรื่องของชื่อเสียง นั่นเอง
พระบัญญัติประการที่ ๘ นี้ เราตองแยกเปน ๒ ประเด็น
คือ “นินทา” และ “ใสความ”
นินทา หมายถึง การเอาเรื่องของผูอื่นไปพูด และเรื่องที่พูดถึงนั้นทําใหผูที่ถูกพูดถึงเสียหาย ถึงแมเรื่องนั้นจะเปน
เรื่องจริงก็ตาม สาเหตุเพราะเราไมมีสิทธิ์ที่จะนําเรื่องของผูอื่นไปพูด โดยที่เจาตัวเขาไมอนุญาต ถือเปนเรื่องสิทธิสวนตัวของเขา
อยางไรก็ตาม ในกรณีของผูที่มีหนาที่ที่ตองรับผิดชอบโดยตรง ก็สามารถนาเรื่องของผูที่ตนรับผิดชอบแจงกับผูเกี่ยวของได
เพราะเปนหนาที่ เชน เราเห็นใครทําผิด ซึ่งความผิดนั้นจะนํามาซึ่งความเสียหายตอสวนรวม เราตองแจงใหผูมีหนาที่ทราบอยาง
นี่ก็ไมถือวานินทา
สวนการนําเรื่องที่ดีของผูอื่นไปพูด และไมกอใหเกิดความ เสียหายใด ๆ ไมถือวาเปนการนินทา แตก็ควรระวังวา
เจาตัวเขาจะยินดีหรือไมดวยเหมือนกัน
ใสความ หมายถึง การนําเอาเรื่องของผูอื่นไปพูด เชน เดียวกับการนินทา แตทวาเรื่องที่นําไปพูดนั้นเปนเรื่องไมจริง
ดังนั้นความผิดเรื่องการใสความนี้จึงหนักกวานินทามาก
๒๖ วารสารสายตรงศาสนา