Page 18 - วารสารสายตรงศาสนา ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖ (สิงหาคม - กันยายน ๒๕๖๖)
P. 18

เมื่อรัชกาลที่ ๑ ไดปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชยเปน “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช” แลว และ
             ปราบปรามบานเมืองตาง ๆ ลงราบคาบหมดเรียบรอย ตอมาพระยายมราช (แบน) หรือ “เจาพระยาอภัยภูเบศร” จึงจัดสงนักองคเอง
             ซึ่งเวลานั้นมีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา และเปนผูที่จะครองราชยสมบัติประเทศกัมพูชา เขามายังราชสำนักไทยในพระนคร

             เพราะเกรงวาถาขืนใหอยูในกัมพูชาอาจจะไดรับอันตรายได สมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นดวย และรับเอา
             นักองคเองไวในพระราชสำนัก ทรงอุปถัมภเชนเดียวกับพระราชโอรสของพระองค

                     ในกาลครั้งนั้น เมื่อกษัตริยผูเยาวไดเดินทางจากกัมพูชา เขามาพำนักอยูในประเทศไทย ยอมมีกลุมผูสวามิภักดิ์กับกษัตริย
             เดินทางติดตามเขามาดวย เปนเรื่องธรรมดาของประชาชนที่เคารพในสถาบันพระมหากษัตริยจะไดพึงกระทำ คณะชาวมุสลิมจำปา
             หรือ “แขกจาม” ก็ไดเดินทางเขามาในกรุงเทพมหานครในครั้งนั้นดวย นับเปนระลอกที่ ๒

                    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ไดโปรดเกลาฯ ใหชาวเขมรจามตั้งครัวเรือนที่บานปาไผ
             ชายทุงพญาไท ผูอพยพเรียกหมูบานตามคำภาษาเขมรวา “พุมเปรย” แปลวา “บานปา” หรือ “เปรยสล็อก” แปลวา “เมืองปา”

             แตคนไทยเรียกวา “บานแขกครัว” (ภายหลังในเวลาตอมาเรียกสั้น ๆ วา “บานครัว”) ที่บริเวณตอนกลางของชุมชนบานครัวเรียกวา
             “พุมปราง” ทางตะวันตกเรียกวา “พุมตะโบง” หรือ “ตรอยเปรียม” สวนทางตะวันออกเรียกวา “กะหกอย” ตอมาเรียกงาย ๆ
             วา “เกาะกอย” ในปจจุบัน

                     ตอมา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ไดโปรดเกลาฯ ใหพระยาบดินทรเดชา (สิงหสิงหเสนี)
             เปนแมทัพบก และเจาพระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ซึ่งตอมาคือสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ เปนแมทัพเรือยกไปตีญวนและ

             เมืองเขมรพรอมๆกัน เมื่อเดินทางกลับหลังจากเสร็จศึกสงครามแลว ทานแมทัพบกไดอพยพครอบครัวเขมรจามเขามาอีกจำนวนหนึ่ง
             โปรดเกลาฯ ใหตั้งครัวเรือนที่ “บานครัว” รวมอยูดวยกัน
                    ในตนยุครัตนโกสินทร กองอาสาจาม ไดปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณทุกครั้ง นับแตสงครามเกาทัพสูรบกับพมา

             การระงับเหตุทางใตกับหัวเมืองมลายูตลอดจนมาถึงยุทธการปากน้ำเจาพระยา สมัยรัชกาลที่ ๕ (ร.ศ. ๑๑๒) มีอาสาจามเปน
             หนวยรบอยูในปอมพระจุลจอมเกลาฯ ในเรือหลวงมกุฎราชกุมาร ไดเสียสละชีวิตในยุทธการครั้งนี้ดวยหลายทาน ตอมาในรัชกาลที่ ๕

             ภายหลังที่ทรงปรับปรุงระเบียบกองทัพใหมแลว ไดทรงโปรดเกลาฯ ใหหลวงปรีชาชาญสมุทร (ซอ โสตะจินดา) เปนผูบัญชาการ
             เรือหลวงมกุฎราชกุมารใหหลวงสาครยุทธวิชัย (หมัด หัสตานนท) เปนผูบัญชาการกองเรือกล ชั้น ๔ ใหนาวาโทพระพลสินธวาณัติ
             (แอ ไอศะนาวิน) เปนหัวหนากองปนกรมสรรพาวุธ ทร. เปนตน

                     ชาวมุสลิมบานครัว หรือแขกครัว หรือ “แขกจาม” ในปจจุบันนี้ตั้งบานเรือนเปนชุมชนประวัติศาสตรอยูริมคลองแสนแสบ
             (เดิมชื่อคลองนางหงส) ทั้งสองฝง ฝงเหนืออยูในเขตราชเทวี มีมัสยิด ๓ มัสยิดไดแก ดานตะวันออก คือ มัสยิดดารุลฟะละฮ

             (เกาะกอย) บริเวณชุมชนกลางบานครัว คือ มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห (สุเหราเกา) สวนดานทิศตะวันตก คือ มัสยิดซูลูกุลมุตตากีน
             สำหรับฝงใตคลองแสนแสบเดิมเรียกวา “ลานมะเกลือ” อยูในเขตปทุมวัน เปนที่ตั้งบานเรือนของชาวมุสลิมเชื้อสายปตตานี
             มีมัสยิดเปนอาคารไมอยูหลังหนึ่งชาวบานเรียกวา “บาแลโตะลี” แตปจจุบันนี้ไดยุบมารวมกับมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห (สุเหราเกา) แลว

             ชุมชนฝงลานมะเกลือในปจจุบันจึงไมมีมัสยิดเหมือนเชนอดีต
                     ชาวจำปา หรือแขกจาม หรือเขมรมุสลิม มีความถนัดในการทอผามาแตบรรพบุรุษ ดังนั้น ชาวบานครัวที่ราชเทวีในอดีต

             จึงมักจะมีอาชีพทอผาไหม ผาไหมจากแขกบานครัว ไดนำขึ้นทูลเกลาฯ ถวายเขาไปในพระราชวังตั้งแตยุคแรก ๆ สำหรับที่ดินใน
             บริเวณบานครัวนั้นบรรพบุรุษมุสลิมจากจำปา หรือจาม ไดรับพระราชทานใหเปนที่อยูอาศัยตลอดจนชั่วลูกชั่วหลาน แตตอมา
             ในสมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ไดประกาศใหชาวบานครัว ไปขอออกโฉนดที่ดินเปนกรรมสิทธิสวนบุคคล ก็มีผูเปนเจาของ

             กรรมสิทธิ ไปยื่นเรื่องทำนิติกรรมขอออกโฉนดสำเร็จได แตก็มีบางสวนที่ไมไปดำเนินการ เพราะเขาใจวา เมื่อเปนที่ดินที่
             พระมหากษัตริยไดทรงพระราชทานใหแกบรรพบุรุษของพวกตนแลว พวกตนยอมมีสิทธิ์ตลอดไป ที่ดินสวนนี้ในระยะเวลาตอมา

             รัฐบาลไดประกาศขึ้นทะเบียนเปนที่ดินทรัพยสินสวนพระมหากษัตริยตั้งแตบัดนั้นเปนตนมา







              ๑๘  วารสารสายตรงศาสนา
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23