Page 12 - [E-book] วันศาสนูปถัมภ์ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕
P. 12

¡ÃÁ¡ÒÃÈÒʹÒ







                     ภารกิจดานการพระศาสนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ มอบหมายใหหนวยงานตางๆ ที่ทรงตั้งขึ้น
           ไปดำเนินการนั้น ถือเสมือนมอบหมายใหปฏิบัติแทนพระองคตางพระเนตรพระกรรณ หากมีสิ่งใดที่สมควร
           กราบบังคมทูล หรือมีปญหาที่ไมสามารถวินิจฉัยไดก็ตองนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณา
           โปรดเกลาฯ วินิจฉัยสั่งการ
                     เรื่องของกรมสังฆการี หรือสังฆการีธรรมการ หรือธรรมการสังฆการี ซึ่งเจากรมมีศักดินา
           เทียบชั้นเสนาบดีนี้ นอกจากจะเปนกรมใหญแลวยังเปนกรมเกาแกกวากรมอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงธรรมการ
           หรือกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด และมีอำนาจหนาที่เกี่ยวกับการศาสนา การจัดการคณะสงฆมาแตโบราณ

           ดังปรากฏหลักฐานตามที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระบรมราชาธิบาย
           เกี่ยวกับ กรมธรรมการสังฆการี ไวดังนี้
                     “กรมธรรมการสังฆการี นี้ ตามตำแหนงเดิมเปนกรมใหญไดตั้งธรรมการหัวเมืองวาความ
           พระสงฆตอพระสงฆ หรือพระสงฆเกี่ยวของกับคฤหัสถ ไมวาความอยางใด อำนาจของกรมธรรมการที่เปนอยู
           บัดนี้ก็ไมสูผิดกับแตกอนมากนัก เปนแตไมมีอำนาจที่จะตั้งธรรมการหัวเมือง ขาดไปพรอมๆ กับกรมอื่นๆ
           แตธรรมการหัวเมือง ก็ยังมีหนังสือบอกขาวคราว เหตุการณซึ่งเกิดขึ้นในระหวางพระสงฆ หัวเมืองบาง
           นอยๆ ราย แตกรมธรรมการมักจะไดพูดจากับพระสงฆ เจาคณะตามหัวเมืองนั่นเองเสียโดยมาก ถาเจาเมือง
           กรมการเมืองใดจะขอตั้งเจาคณะหัวเมืองก็ยังมีใบบอกมาที่กรมธรรมการนั้นดวย คงอยูอยางแตกอน
           แตตำแหนงใหญคือที่พระยาพระเสด็จนั้น ไมไดตั้งมาเสียชานาน ดวยผูซึ่งจะเปนขุนนางในตำแหนงธรรมการนี้

           ดูเหมือนจะใชผูสนัดในทางวัดๆ ผูซึ่งสนัดในทางวัดๆ เชนนั้น ก็คงตองใชคนที่เปนคนบวชอยูนาน เรอรางุมงาม
           ไมสมควรเปนขุนนางใหญ จึงไดลดตำแหนงมีศักดินานอยลงคงใชเจานายไปกำกับอยูเสมอมา”
                     สวนที่วา กรมธรรมการสังฆการี เปนกรมเกานั้น ปรากฏตามพระราชนิพนธของสมเด็จพระเจา
           บรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไวในหนังสือประวัติสังเขปแหงการจัดการศึกษาปรัตยุบัน
           แหงประเทศสยาม ภาค ๑ (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๖) ไวดังนี้ “กระทรวงธรรมการตั้งเปนกระทรวงเสนาบดี
           ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ตรงกับปมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ กรมตางๆ ซึ่งรวมเขา
           เปนกระทรวงธรรมการ คือ กรมศึกษาธิการ ๑ กรมพิพิธภัณฑ ๑ กรมพยาบาล ๑ กรมธรรมการสังฆการี ๑ ทั้ง ๔

           กรมนี้เดิมบังคับบัญชาอยูตางกัน เปนกรมเกาแตกรมธรรมการสังฆการี นอกจากนั้นมีขึ้นชื่อเมื่อในรัชกาลที่ ๕”
                     ภารกิจดานการพระศาสนาในประเทศไทย มีประวัติความเปนมาดังแสดงไวตอนตนจนลวงมาใน
           สมัยรัตนโกสินทร ปรากฏความเปนมาที่สำคัญโดยสังเขป  ดังนี้



           สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)
                     ๑.  ยุคแรกเรียกชื่อวา กรมสังฆการีขวา เจากรมเปน หลวงธรรมรักษา ไดความจากพระราช
           พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๑ วา “เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก เสวยราชยแลว
           ทรงตั้งตำแหนงพระราชาคณะ ปรากฏวา หลวงธรรมรักษา เจากรมสังฆการีขวา ซึ่งเปนพระพิมลธรรม

           มากอน ตองสึกในแผนดินกรุงธนบุรี วาตองอธิกรณอทินนาทาน ทรงแคลงอยู จึงใหพิจารณาไลเลียงดูใหม
           ก็บริสุทธิ์อยู หาขาดสิกขาบทไม จึงทรงพระกรุณาโปรดใหกลับบวชเขาใหมใหเปน พระญาณไตรโลก อยูวัดสลัก
           (ปจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) การครั้งนี้ในป พ.ศ. ๒๓๒๕ ปแรกที่เสวยราชย”




                                                                                                  11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17