Page 48 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 48

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          จะอุปมากับรถยนต์ ความรู้ท่านว่า เหมือนไฟหน้ารถใช้เป็นแสงสว่างส่องทางเดินรถ ท�าให้รู้ว่า

          ตรงไหนเป็นทางโค้ง ตรงไหนเป็นทางตรง ตรงไหนเป็นทางที่ควรจะเลี้ยว ตรงไหนเป็นทาง
          ที่ควรจะถอยของรถฉันใด ชีวิตคนก็ฉันนั้น คนจะต้องมีความรู้มีภูมิปัญญา ความรู้จะช่วย

          ส่องเหตุส่องผล ส่องผิดส่องถูก ส่องทิศส่องทาง จะคอยก�าจัดความมืดให้แก่ชีวิต ก็คือ

          ปัญญาความรู้ การที่บุคคลจะบรรลุผลประโยชน์ดังกล่าว ด้วยการภาวนาคาถาหัวใจเศรษฐี

          อย่างเดียวเท่านั้น หาส�าเร็จประโยชน์ไม่ หากแต่จะต้องประพฤติปฏิบัติให้พร้อมมูลบริบูรณ์ด้วย
          ถึงจะอ�านวยประโยชน์ให้ส�าเร็จได้ เพราะค�าว่า สัมปทา หมายความว่า ความถึงพร้อม

          หรือความสมบูรณ์ จะต้องปฏิบัติ เช่น มีความหมั่นขยัน เมื่อมีความหมั่นขยันแล้ว

          ก็ต้องถึงพร้อมด้วยการรักษา เมื่อมีการรักษาที่ดี ก็ต้องรู้จักคบหากัลยาณมิตร ก็คือ มิตรที่ดีงาม

          และที่ส�าคัญ ก็คือ เลี้ยงชีวิตให้พอเหมาะ พอควรแก่ทรัพย์สมบัติที่หามาได้ เมื่อพร้อมมูลบริบูรณ์
          ด้วยคุณธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ วิถีชีวิตในปัจจุบัน ก็จะด�ารงมั่นคงเป็นหลักฐาน แต่การด�ารงชีวิต

          ให้เป็นสุขในปัจจุบันนี้เท่านั้นยังไม่พอ บุคคลจะต้องประกอบสร้างสรรค์ชีวิตให้มีค่า

          พัฒนาตนเองให้สูงส่งขึ้นไปอีกด้วย การบ�าเพ็ญประโยชน์ในภายภาคหน้า เพื่อพัฒนาตนเอง

          และสังคม อบรมจิตของตนให้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา
          รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ มีพัสดุสิ่งของ ต้องรู้จักจ�าแนกแจกจ่าย

          ท�าลายความตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เห็นแก่ได้ถ่ายเดียว ต้องแลเหลียวถึงส่วนรวม เรียกว่า

          “มีความรู้ท่วมหัวต้องช่วยตัวเองและสังคมให้อยู่รอดปลอดภัย” ไม่ควรใช้ความรู้

          ให้เป็นอันตรายแก่ตนเองและส่วนรวม ผู้ประกอบด้วยความหมั่นขยัน การรู้จักรักษา
          คบหากัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตพอประมาณ มีศรัทธารักษาศีล ยินดีในการสละทานและสมบูรณ์

          ด้วยความรู้ดังกล่าวมา ในทางพระพุทธศาสนา ท่านให้สมญาว่า “บัณฑิต” ผู้ด�าเนินชีวิต

          ด้วยปญญา และที่ส�าคัญ ก็คือ ด�าเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่พลั้งเผลอ มีสติรอบคอบ

          ทุกหน้าที่การงาน กิจที่ท�า ค�าที่พูด ความสุขความเจริญย่อมจะเกิดขึ้นแก่สังคมโดยแน่นอน
                  แสดงพระธรรมเทศนา อัปปมาทกถา ว่าด้วยการท�าประโยชน์ตนเองและประโยชน์

          ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอสมมุติยุติลงคงไว้แต่เพียง

          เท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้












        42
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53