Page 47 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 47

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



                      ๔) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อในภูมิปัญญา

              ของพระองค์ว่า ยกตัวอย่าง อย่างเรื่องกรรมไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีเหตุ ไม่มีผล องค์สมเด็จ
              พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ ย่อมมีเหตุ มีผล อย่างแน่นอน บุคคลควรถือ

              เป็นจุดยืนในการพัฒนาชีวิตและยกระดับจิตให้สูงขึ้น  เรียกว่า  “สัทธาสัมปทา”

              เป็นประการแรก

                      ประการที่ ๒ “สีลสัมปทา” หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยศีล ค�าว่า “ศีล” คือ
              เจตนาที่งดเว้นจากการกระท�า อันมีลักษณะท�าตนเองให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน กล่าวคือ

              การควบคุมกาย วาจา ให้เป็นปกติ เพราะความปกติทางกาย วาจา ของตน มีผลท�าให้ใจสงบ

              เยือกเย็น ปราศจากเวร ปราศจากภัยทั้งปวง รวมถึงความเป็นคนมีระเบียบวินัยอีกด้วย เรียกว่า

              มีแบบแผน แบบชีวิตที่ถูกต้อง ความประพฤติตามท�านองคลองธรรม ท่านว่า ชีวิตมนุษย์
              เป็นอยู่ได้เพราะสมบัติ แต่ความเป็นมนุษย์ด�าเนินอยู่ได้ด้วยคุณสมบัติ “ศีล ได้ชื่อว่า เปน

              คุณสมบัติของมนุษย์” เพราะศีลรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ได้ หากไม่มีศีลก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์

              ประเภทอื่น ๆ ศีลสามารถท�าให้คนธรรมดาเป็นพระสงฆ์ สามเณร คนมีศีลจึงเป็นที่เคารพรัก

              นับถือไว้วางใจ ไม่ก่อเวร ก่อภัย ให้แก่ตนเองและผู้อื่นหรือว่าสังคม
                      ประการที่ ๓ “จาคสัมปทา” ความถึงพร้อมด้วยจาคะ ค�าว่า “จาคะ” ในที่นี้

              มุ่งการสละวัตถุสิ่งของ อันหมายถึง การแสดงออกถึงอัธยาศัย ที่โอบอ้อมอารี เอื้อเฟอเผื่อแผ่

              มาในแง่ของ ไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย โดยความหมาย ก็คือ แบ่งกันกินแบ่งกันใช้
              เขามีเขาก็ให้เรา เรามีเราก็ให้เขา เข้าท�านองที่ว่า “ให้ท่านท่านจะให้ตอบสนอง นบท่าน

              ท่านจักปองนอบไหว้ รักท่านท่านควรครองความรักเรานา สามสิ่งนี้เว้นไว้แต่ผู้ทรชน” ญาติโยม

              ทั้งหลาย ถึงจะร�่ารวยอย่างไรก็ตาม ในโอกาสหนึ่งก็อาจจะขาดแคลนได้ การช่วยเหลือ

              เกื้อกูลกันจึงเป็นกุศลที่จะอ�านวยผล เป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง ของตนในโอกาสต่อไป กับทั้ง

              ยังเป็นเหตุปัจจัยให้สร้างมิตรไมตรีในการด�ารงชีวิต เพราะในการด�ารงชีวิต มิตรไมตรี
              เป็นสิ่งส�าคัญประการหนึ่ง

                      ประการที่ ๔ “ปญญาสัมปทา” ความถึงพร้อมด้วยปญญา ค�าว่า “ปญญา” ในที่นี้

              บ่งชี้ถึงความรู้ว่า อะไรเปนบาปอะไรเปนบุญ อะไรเปนคุณอะไรเปนโทษ อะไรเป็นประโยชน์

              ไม่เป็นประโยชน์ อะไรเป็นกุศลเป็นอกุศล อะไรเป็นทางเสื่อมอะไรเป็นทางเจริญ เป็นปัญญา
              ในชั้นคุ้มครองรักษาตนเองได้ กล่าวให้สั้น ๆ ก็คือ ความรู้นั่นเอง ความรู้ท่านว่า เป็นแสงสว่าง

              ของชีวิต เพราะเป็นเครื่องอ�านวยช่วยประคองตัวให้ด�าเนินชีวิตไม่ผิดพลาด ถ้าญาติโยม




                                                                                                41
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52