Page 42 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 42
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
อัปปมาทกถา
แสดงโดย พระศรีภัททิยบดี วัดชนะสงคราม
เขตพระนคร กรุงเทพฯ
วันพุธที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ.
บัดนี้ จักได้แสดงพระธรรมเทศนา “อัปปมาทกถา” พรรณนาเรื่อง “ความไม่ประมาท”
เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เพิ่มพูนอัปปมาทธรรม สัมมาปฏิบัติของท่านสาธุชน
พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ซึ่งได้ประกอบบุรพกิจ คือ กิจเบื้องต้นแห่งการบูชาพระ
ไหว้พระรักษาศีลและได้ตั้งใจสดับพระธรรมเทศนาจนกว่าจะยุติด้วยเวลา ด�าเนินเทศน์
ตามพระพุทธสุภาษิตที่อาตมภาพได้ยกขึ้นไว้เบื้องต้นนั้นว่า “วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ
สัมปาเทถะ” ซึ่งแปลเป็นใจความภาษาไทยว่า “สังขาร คือ สภาวะที่ปจจัยปรุงแต่ง
ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเปนธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท” หรือจะแปลว่า “ท่านทั้งหลายจงยังสัมมาปฏิบัติ
คือ ความปฏิบัติชอบให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท” หรือจะแปลว่า “ท่านทั้งหลาย
จงยังความไม่ประมาท คือ ความมีสติไม่เผลอตัวลืมตนให้ถึงพร้อม” นี้ก็อีกนัยยะหนึ่ง
ญาติโยมสาธุชนทั้งหลาย ในวันนี้ อาตมภาพ จึงขอน้อมน�าหลักธรรม คือ
ความไม่ประมาท ในข้อที่ว่า “การยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยความไม่ประมาท” มาชี้แจงแสดงให้ท่านทั้งหลายได้สดับตรับฟัง เพื่อที่จะน้อมน�าไป
ประพฤติปฏิบัติให้เหมาะกับอัธยาศัยของแต่ละท่านแต่ละคน ค�าว่า “ประโยชน์ จะเปนประโยชน์
ตนเองหรือประโยชน์ผู้อื่นก็ตาม” ท่านว่าเป็น “บัณฑิตธรรม คือ ธรรมะของบัณฑิต”
ซึ่งว่าด้วยประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในภายภาคเบื้องหน้า โดยมีพระบาลีรับรองไว้ว่า
“ทิฏเฐ ธัมเม จะ โย อัตโถ โย จัตโถ สัมปะรายิโก อัตถาภิสะมะยา ธีโร ปณฑิโตติ ปะวุจจะติ”
ซึ่งแปลความว่า “ธีรชน ท่านเรียกว่า เปนบัณฑิต เพราะมายึดไว้ได้ด้วยประโยชน์ทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์ในปจจุบันและก็ประโยชน์ในอนาคต” ความจริงแล้วมนุษย์ที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้
ย่อมมีพื้นเพจริตอัธยาศัยแตกต่างกันไป พระพุทธองค์ จึงทรงอุปมาให้เห็นเป็นเหมือนดอกบัว
36