Page 39 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 39
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
ตปพฺรหฺมจริยกถา
แสดงโดย พระมหาเพชร ชนาสโภ วัดสุวรรณาราม
เขตบางกอกนอย กรุงเทพฯ
วันอังคารที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
ตโป จ พฺรหฺมจริยฺ จ เอตมฺมงฺคลามุตฺตมงฺติ.
บัดนี้ จักได้แสดงธรรมะในหัวข้อว่า ตปพฺรหฺมจริยกถา พอเป็นเครื่องเฉลิมฉลอง
ศรัทธาของท่านสาธุชนสืบไป ค�าว่า “ตบะ” ตบะนี้ หมายถึง การบ�าเพ็ญเพียรเพื่อก�าจัด
กิเลสประการแรก ประการที่สอง การข่มกิเลสโดยการทรมานตนของนักบวชในพุทธกาล
ประการที่สาม เป็นชื่อของอุโบสถกรรมทุก ๆ วันพระ ค�าว่า ตบะนี้ จึงมีความหมายกว้างพอ
เป็นตัวอย่างซัก ๓ หัวข้อ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะในคัมภีร์ทางศาสนา ท่านกล่าวถึง
ข้อหนึ่งว่า ตะปะสี หมายถึง คนผู้มีตบะ ความเพียรเผากิเลสให้เกิดบุญกุศลนั้นเอง ประการ
ที่สอง คือ พฺรหฺมจริยะ หมายถึง การประพฤติพรหมจรรย์ มีความหมายอยู่หลายประการ
คือ การครองชีพอันประเสริฐ ๑ การประพฤติดุจดั่งพระพรหม ๑ ตามที่อรรถกถาได้ประมวล
ไว้ทั้ง ๑๐ ข้อ จะได้หยิบยกพอเป็นเครื่องประคับประคองใจฉลองศรัทธาสืบไป
๑. ทานมัย บุญส�าเร็จด้วยการแบ่งปันให้
๒. ไวยาวัฏจักร การขวนขวายเกื้อกูลท�าประโยชน์ให้
๓. เบญจศีล การไม่ฆ่า ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดคู่ครอง ไม่พูดเท็จ ไม่เมาสุราเมรัย ก็เป็น
เบญจศีล
๔. อัปปมัญญา เมื่อมีธรรมะข้อนี้ก็คือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
๕. เมถุนวิรัติ การงดเว้นธรรมของคนคู่ วันนี้เป็นวันพระบรรดาพุทธศาสนิกชน
พุทธมามกะทั้งหลายก็จะเข้าสู่วัดนุ่งขาวห่มขาวหรือว่าบวชในวันส�าคัญก็ท�าได้
ก็หมายความว่า งดเว้นเมถุนธรรมนั่นแหละ ความหมายตรงนี้ถือว่า เป็นบุญเป็นกุศล
หากถามว่าบุญคืออะไร ตอบว่า บุญเป็นเครื่องช�าระกาย วาจา และใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์
การกระท�าอันท�าให้เต็มอิ่มสมน�้าใจที่นึกไว้ เรียกว่า บุญ เท่ากับบ�าเพ็ญบุญท�าบุญด้วย
ความตั้งใจ
33