Page 36 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 36
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
คุณสมบัติทุก ๆ ประการของตน ให้ประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน และให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน
เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารและที่เป็นประโยชน์ เป็นความเจริญต่อส่วนรวม
และเพื่อนมนุษย์ การที่จะเกิดความสามัคคีทางกายได้ต้องเริ่มจากจิตใจ ถ้าทุกคนมีความ
สามัคคีเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ประเทศชาติย่อมคลาดแคล้วจากภัยของศัตรู และตั้งมั่น
มีความสุขสมบูรณ์อยู่ได้ ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง เป็นก�าลังของความส�าเร็จ ช่วยให้งาน
ที่ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร หรืองานที่หนักยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา ก็สามารถส�าเร็จลงได้
ดังนั้นหมู่คณะใด ที่มีความพร้อมเพรียงไม่หวาดระแวงกันและกัน หมู่คณะนั้น ย่อมประสบ
แต่ความสุขความเจริญ ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ หากทุกคนชาวไทย ยินดีที่จะประสาน
ผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในชาติ
ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เนื่องในพิธี
สวนสนามทหารรักษาพระองค์ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๐๕ ว่า “...คราวใดที่ชาวไทย
มีความสามัคคีเปนน�้าหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้
รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุข ความเจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน
ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ จึงเปนหน้าที่ของเราทั้งหลาย ที่จะต้องร่วมใจกัน
ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด...”
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมชอบอยู่อาศัยกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน ต้องการเพื่อน ไม่ชอบ
การอยู่อย่างโดดเดี่ยว ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็วางหลักธรรม
ส�าหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวความสามัคคีไว้ เรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ
๑. ทาน การเสียสละแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่เพื่อนมนุษย์
๒. ปยวาจา การพูดจาสนทนาปราศรัยกันด้วยถ้อยค�าไพเราะอ่อนหวาน น่าฟัง
๓. อัตถจริยา การบ�าเพ็ญประโยชน์ให้แก่กันและกัน เช่น ช่วยเพื่อนท�างาน
ช่วยรักษาพยาบาล ช่วยสงเคราะห์ด้านอื่น ๆ เป็นต้น
๔. สมานัตตตา คือ การวางตนได้อย่างเสมอกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ ไม่สูงเกินไป
ไม่ต�่าเกินไป
ความพร้อมเพรียงของมนุษย์จะด�ารงอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมะ ๔ ประการนี้
เมื่อคนมีความสามัคคีกัน ไม่แบ่งแยกเป็นกลุ่มเป็นพวก ก็จะได้รับแต่ความสุข ความเจริญ
การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงเป็นปกแผ่นสมานสามัคคีกันนั้น ก็จัดเป็นความสุข
30