Page 31 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 31

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ให้เกิดขึ้นและรักษาไว้มิให้เสื่อม ประเทศชาติไทยจะมั่นคงด�ารงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข

              ตลอดไปได้ ทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า
                      คุณธรรมนี้นับว่า ส�าคัญมากในหมู่คณะ เป็นคุณธรรมที่ก่อให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง

              แก่หมู่คณะ เพราะถ้าหากหมู่คณะมีความสามัคคีกันแล้ว สามารถจะช่วยเหลือเกื้อกูล

              ซึ่งกันและกัน ร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมจะท�าให้กิจการที่ท�านั้น ประสบ

              ความส�าเร็จได้ ก่อให้เกิดความสงบสุข ความเจริญขึ้นแก่สังคมนั้น
                      ในการอยู่ร่วมกันเป็นบริษัทหรือเป็นหมู่คณะตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปนั้น บางครั้ง

              อาจมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง มีการทะเลาะวิวาทกันบ้าง นินทากันบ้าง เพราะในการด�าเนิน

              ชีวิตของเรา ย่อมต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องร่วมครอบครัว เพื่อนร่วมห้อง

              เพื่อนร่วมงาน ผู้อยู่ร่วมชุมชน จะเกิดเป็นความสัมพันธ์อันดี หรือที่เรียกว่า ความสามัคคีได้นั้น
              ต้องอาศัยธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน กระท�าซึ่งความเคารพระหว่างกัน อยู่ร่วมกัน

              ในสังคมด้วยดีมีความสุข ความสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ท�าร้ายท�าลายกันที่เรียกว่า

              สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ

                      ๑. เมตตากายกรรม หรือท�าต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดี
              ต่อเพื่อน ต่อผู้อื่น ด้วยการช่วยเหลือธุระต่าง ๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพ

              นับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

                      ๒. เมตตาวจีกรรม หรือพูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์

              สั่งสอนหรือแนะน�าตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน
              ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

                      ๓. เมตตามโนกรรม หรือคิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดท�าแต่สิ่ง

              ที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

                      ๔. สาธารณโภคี หรือได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม
              แม้เป็นของเล็กน้อย ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

                      ๕. สีลสามัญญตา หรือประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริต ดีงาม

              รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ท�าตนให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือท�าความเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

                      ๖. ทิฏฐิสามัญญตา หรือปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน
              มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการส�าคัญ ยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม

              หรือจุดหมายอันเดียวกัน




                                                                                                25
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36