Page 29 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 29
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
สมัคคิกถา
แสดงโดย พระมหาสายันต ธมฺมทีโป วัดอมรคีรี
เขตบางพลัด กรุงเทพฯ
วันจันทรที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏโ โยคกฺเขมา น ธํสตีติ.
ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพ พระมหาสายันต์ ธมฺมทีโป จักรับเป็นผู้แสดงพระธรรม
เทศนา พรรณนาถึง ความสามัคคี เพื่อเป็นเครื่องประคับประคอง ฉลองศรัทธาประดับปัญญา
บารมี เพิ่มกุศลบุญราศีให้แก่พุทธบริษัท ญาติโยมผู้เป็นทานบดีสาธุชนคนใจบุญทั้งหลาย
ที่ได้มาขวนขวายประกอบกิจ มีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น อันเป็นเครื่องไหลมาแห่งบุญกุศล
เพื่อเป็นเครื่องท�าตนให้พ้นทุกข์ ประสบสุขอันไพบูลย์ และญาติโยมทั้งหลาย ยังมีความพอใจ
เลื่อมใสศรัทธาใคร่สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่อจะได้น้อมน�าพระธรรมค�าสอนไปสอบทาน
กับกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้ประสบอิฏฐผลที่ตนปรารถนา บรรลุมรรคผลเบื้องสูง
ตามสมควรแก่เวลาสืบต่อไป
สามัคคี แปลว่า ความพร้อมเพรียง หมายความว่า ความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน ความส�าเร็จที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นได้ก็เพราะความสามัคคี ความสามัคคีปรองดอง
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความรักใคร่ เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือ
คุณลักษณะส�าคัญของคนไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระและเจริญมั่นคง
มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า สามัคคี
หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงาน
อย่างสร้างสรรค์ ให้บรรลุผลตามที่ตนต้องการ ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัด
เอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด
ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า
ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
23