Page 33 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 33

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ยกตัวอย่างเรื่องของเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี เมื่อพวกเจ้าลิจฉวี มีความสามัคคีกัน

              พระเจ้าอชาตศัตรู ก็ท�าอะไรไม่ได้ แต่เมื่อถูก วัสสการพราหมณ์ ยุยงให้แตกสามัคคีกันเท่านั้น
              ก็เป็นเหตุให้ พระเจ้าอชาตศัตรู เข้าโจมตีและยึดเมืองเอาไว้ได้ในที่สุด

                      การรวมใจสามัคคีกัน จึงจะเกิดเป็นพลัง ความสามัคคีเกิดขึ้นที่ใด ย่อมท�าให้ที่นั้น

              มีแต่ความสงบสุข มีแต่ความเจริญ ส่วนการแตกสามัคคีกัน ท�าให้มีก�าลังน้อย ความแตกสามัคคี

              เกิดขึ้นที่ใด ย่อมท�าให้ที่นั้น ประสบแต่ความทุกข์ มีแต่ความเสื่อม เราจะอยู่อย่างราบรื่นกลมกลืน
              กับผู้อื่นได้ ก็ต่อเมื่อ เราเชื่อมั่นในความดีหรือเห็นว่า ความสามัคคี การเอื้อเฟอเกื้อกูลกัน

              เป็นสิ่งที่ดีงาม สามารถสมานน�้าใจผู้อื่นได้ และจะน�าไปสู่การร่วมมือเพื่อก่อประโยชน์

              แก่ทุกฝาย แต่หากเรามีความคิดในทางตรงข้าม ในที่สุดชีวิตเรา ก็จะมีแต่เรื่องเดือดร้อน
              ไม่เป็นที่ไว้วางใจ ไม่เป็นที่รักของผู้อื่น ความสามัคคีเกิดขึ้นด้วยการสร้างความเข้าใจ

              จากเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่

                      ๑. เรื่องกีฬา กีฬาเป็นเรื่องสนุก แต่บางครั้งผู้เล่นก็คาดหวังที่จะต้องชนะ

              เพียงอย่างเดียว ควรคิดวิเคราะห์ถึงคุณค่าที่แท้จริงจากการเล่นกีฬาว่า “เราเล่นกีฬาท�าไม”

              เพื่อสร้างความรักสามัคคีกับเพื่อน เพื่อออกก�าลังกายให้สุขภาพแข็งแรง “การที่เราแพ้แท้จริง
              แล้วเปนประโยชน์หรือเปนโทษต่อเรา” เราจะได้ฝกฝนและพัฒนาความสามารถให้ดีขึ้นต่อไป

              ทั้งยังได้ฝกและฝนตัวเอง จากการเล่นกีฬาตามกติกาที่ก�าหนดไว้ ไม่มุ่งหวังแค่จะชนะ

              เพียงอย่างเดียว ควรรู้จักการแบ่งปันและมีจิตใจเมตตา นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น รู้จักให้อภัย

              กล้ายอมรับผิดและพร้อมจะแก้ไขปรับปรุงตัวเองใหม่
                      ๒. การท�างานเปนกลุ่ม การรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จะช่วยให้เรา

              สามารถท�างานที่ยากล�าบากให้ส�าเร็จได้ ช่วยให้เกิดความมั่นใจในตนเอง เพราะสามารถ

              ช่วยปองกัน ฟันฝาอุปสรรคจนลุล่วงไปได้ ผลดีจากการช่วยกันท�างานเป็นกลุ่ม คือ

              ได้สัมผัสความคิดเห็นและวิธีการท�างานที่แตกต่างกัน เป็นการขยายมุมมองและประสบการณ์
              ให้กว้างขึ้น ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่าง ท�าให้ค�านึงถึงความคิดและ

              ความต้องการของผู้อื่นมากขึ้น แทนที่จะยึดติดกับความคิดและความต้องการของตนเอง

              อย่างเดียว

                      ๓. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น หลังจากที่ท�างานร่วมกันแล้ว
              ควรทบทวน ไตร่ตรอง พิจารณาร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นต่าง ๆ

              จากการท�างานร่วมกัน อะไรเป็นข้อดี จากการท�างานครั้งนี้ และมีอะไรที่ต้องปรับปรุง




                                                                                                27
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38