Page 30 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 30

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          รู้จักบทบาทของตนทั้งในฐานะผู้น�าและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

          เพื่อให้การงานส�าเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล
          ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ทางความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัว

          เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ ประเทศชาติที่มีคนพร้อมเพรียงอย่างนี้ ย่อมน�าไปสู่ความเจริญ

          มั่นคง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความสุข ความเจริญและเป็นสิ่งคุ้มครองปองกันภัยอันตรายต่าง ๆ

          ไปด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานความหมายที่ลึกซึ้งกว่าว่า
          “...ความสามัคคีควรจะมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นอีกด้วย เช่น ควรจะหมายถึง

          ความพร้อมเพรียงของทุกฝายทุกคน ที่มีความส�านึกแน่ชัดในความรับผิดชอบที่จะพึงใช้

          ความรู้ ความคิด ความสามารถ ตลอดจนคุณสมบัติทุก ๆ ประการของตน ให้ประกอบ
          พร้อมเข้าด้วยกัน และให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เปนสาระแก่นสาร

          และที่เปนประโยชน์ เปนความเจริญต่อส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์...”

                  หมู่ชนใดตั้งแต่ครอบครัว หมู่สมาคม ประเทศชาติตลอดถึงชนทั้งโลก มีความสามัคคี

          พร้อมเพรียงกัน ช่วยท�ากิจกรรมของหมู่คณะร่วมกันอย่างขยันขันแข็ง ไม่ลักขโมยของกัน

          สังคมหมู่นั้น ก็จะเข้มแข็งมีความเจริญรุ่งเรือง ทุกคนในหมู่คณะนั้น จะอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็น
          เป็นสุข เพราะความสามัคคีเป็นคุณธรรมที่ส�าคัญที่จะพัฒนาหมู่ชนนั้น ๆ ดังนั้นความสามัคคี

          จึงนับว่า เป็นคุณธรรมอันส�าคัญอย่างยิ่งส�าหรับหมู่คณะ

                  ความสามัคคีนั้น สามารถท�าให้เกิดได้ทั้งในระดับครอบครัว ระหว่างสามีภรรยา

          บิดามารดา บุตรธิดา ในระดับสังคม ระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ เพื่อนกับเพื่อนและในระดับ
          ประเทศชาติ ซึ่งทุกคนจะต้องนึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ควบกันไปกับประโยชน์

          ส่วนตน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ทั้งประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ก็จะได้รับความเสียหายไปด้วยกัน

          ดังค�าประพันธ์ไว้ว่า

                  “มุ่งประโยชน์ ส่วนตน แต่คนเดียว  ไม่แลเหลียว ส่วนรวม จะเสียหาย
                  เมื่อส่วนใหญ่ ยับย่อย พลอยวอดวาย  ส่วนของตน ก็สลาย ไปด้วยกัน

                  ละส่วนตน ไว้ก่อน จึงย้อนกลับ         เมื่อส่วนรวม ได้รับ สมานฉันท์

                  อานิสงส์ ส่วนใหญ่ ได้ร่วมกัน         จะส่งผล ให้ตนนั้น สุขสันต์เอย”

                  ดังนั้น ความสามัคคี จึงเป็นคุณธรรมที่ท�าให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกัน ที่สามารถ
          รักษาและพัฒนา ชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง หากทุกคนมีความคิดจิตใจและการประพฤติ

          ปฏิบัติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในทางที่ดีที่เจริญ มีพร้อมอยู่ในกายในใจของคนไทย หมั่นเจริญ




        24
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35