Page 34 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 34

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          เพื่อจะท�าให้งานดีขึ้นได้ การทบทวนนี้จะท�าให้ได้แง่คิด ความรู้ หรือบทเรียนอันหลากหลาย

          จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใหญ่ในชุมชน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตนเองและยังช่วยให้แต่ละคน
          ได้ทบทวนประสบการณ์ของตนเอง สามารถสรุปเป็นข้อคิดและบทเรียนส�าหรับตัวเอง

          เพื่อน�าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้

                  ๔. การเจริญสติ เราทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครในโลกนี้

          ต้องการความทุกข์ ไม่มีใครในโลกนี้ ที่จะปฏิเสธความสุข ทุกคนเหมือนกันหมด ทุกคนจึงควร
          ได้ฝกตัวเองด้วยศีล ด้วยสมาธิและเจริญสติ ให้ได้สัมผัสความสงบ ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ

          แผ่เมตตา จนรู้ความหมายและประโยชน์ของสติ ควรมีสติในการฟัง อ่าน คิด ถามและเขียน

          ด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ฝกสมาธิเบี้องต้น ด้วยการนับลมหายใจ เมื่อมีความสงบ

          ภายในแล้ว ความดิ้นรนวุ่นวายที่จะแสวงหาความสุขนอกตัว ก็น้อยลงเป็นธรรมดา
          มันยังไม่หายไปทีเดียว แต่อย่างน้อยก็สามารถควบคุมตัวเอง ภายในกรอบของศีลธรรม

          ไม่เบียดเบียนใคร ไม่สร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนกับครอบครัว กับชุมชน ซึ่งเป็นผลมาจาก

          ความสงบภายใน

                  ๕. พ่อแม่ผู้ปกครองควรจะส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐานเรื่องสามัคคีให้ลูก สามารถ
          เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก ความสามัคคีเป็นเรื่องส�าคัญ ความสุขของครอบครัว เริ่มต้นจาก

          พ่อแม่ เมื่อพ่อแม่เคารพรักกัน เป็นคนดี มีความรัก ความเมตตาต่อลูก ทั้งการแสดงออก

          ทางกาย ทางวาจาและทางใจ ที่ลูกสามารถสัมผัสได้ เป็นที่พึ่งได้ สามารถเป็นแบบอย่าง

          ที่ดีให้กับลูก  ลูกก็มีความเคารพศรัทธา  มีความเชื่อมั่นเชื่อฟังในสิ่งที่พ่อแม่สอน
          และเกิดความอยากจะประพฤติปฏิบัติให้เป็นคนดี

                  ๖. เรียนรู้เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทุกคนมีความแตกต่างกัน ทั้งร่างกาย

          จิตใจ ความคิด ลักษณะอารมณ์ การแสดงออก ที่ส�าคัญ คือ เราต้องตระหนักและเคารพ

          ให้เกียรติกัน ในเรื่องความแตกต่างเหล่านี้ ทั้งทางความคิดและการกระท�า ให้ความส�าคัญ
          กับทุกคน ทุกบทบาทหน้าที่ในสังคม เราต้องตระหนักและเคารพในความแตกต่างนี้

          เพราะแท้จริงแล้ว ความแตกต่างระหว่างบุคคลต่างหาก ที่ท�าให้โลกของเราน่าอยู่และน่าสนใจ

                  ๗. รู้จักท�าประโยชน์ ควรท�าความดี บ�าเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เริ่มจากความ

          รับผิดชอบต่อกิจวัตรของตัวเอง การให้บริการผู้อื่น การท�าความดีหรือบ�าเพ็ญประโยชน์
          อย่างสม�่าเสมอ จะท�าให้เกิด “จิตอาสา” คือ จิตที่อยากท�าความดีเพื่อผู้อื่น เป็นจิตที่มีอัตตา

          เล็กลง จึงเปิดรับความสุขได้ง่าย โดยไม่จ�าเป็นต้องพึ่งวัตถุ การท�าความดียังช่วยให้ได้เห็นว่า




        28
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39