Page 43 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 43

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



              ๔ เหล่า เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธองค์จะทรงสอนให้คนทุกคนหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เกิด แก่

              เจ็บ ตาย เหมือนกันทั้งหมด จึงไม่ใช่วิสัยที่จะเป็นไปได้ แต่ว่าโดยเหตุที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ
              มุ่งจะช่วยเอาสัตว์ที่อุบัติมาให้ได้รับประโยชน์ ตามก�าลังความสามารถของตน พระองค์จึงทรง

              จ�าแนกค�าสอนไว้เป็น ๓ ระดับด้วยกัน คือ

                      ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ คือ ประโยชน์ที่บุคคลพึงได้ในปัจจุบัน

                      ๒. สัมปรายิกัตถะประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภายภาคเบื้องหน้า ซึ่งเป็นส่วนของ
              การพัฒนาจิตใจ

                      ๓. ปรมัตถะประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ก็คือ มรรค ผล นิพพาน

                      ค�าว่า “ประโยชน์” หมายถึงอะไร ประโยชน์ในที่นี้ หมายถึง ความสะดวก

              ความสบาย ความสุข ประโยชน์กับความสุข ตามความหมาย ก็เนื่องเกี่ยวพันถึงกันและกัน กล่าวคือ
              ผู้มีความสุข ความสบาย ก็เนื่องมาจากประโยชน์ หรือว่าเนื่องมาจากผลประโยชน์นั่นแหละ

              ผู้มีผลประโยชน์ ก็ย่อมได้รับความสุข ความสบาย เรื่องผลประโยชน์จึงจัดว่า มีความส�าคัญ

              อย่างยิ่ง ดังนั้นแล้วบุคคลผู้มีส่วนในการจัดการประโยชน์ ไม่ว่าประโยชน์ตนหรือประโยชน์

              ส่วนรวมก็ตาม ย่อมเป็นผู้มีส่วนส�าคัญในอันที่จะสร้างสรรค์ ความเจริญมั่นคงหรือความเสื่อม
              มาสู่หมู่คณะก็ได้  เพราะผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน  เขาว่า  แม้ศัตรูก็กลายเป็นมิตร

              ผู้ขัดผลประโยชน์กัน แม้เป็นมิตรก็กลายเป็นศัตรูกัน ผู้มีปัญญาจึงควรที่จะพัฒนาชีวิตของตน

              ทั้งในส่วนที่เป็นปัจจุบัน ทั้งในส่วนที่เป็นอนาคต โดยอาศัยคุณธรรมเป็นแนวก�าหนด

              ให้ด�าเนินตามข้อต้น ได้แก่ ประโยชน์ในชีวิตปัจจุบัน เน้นถึงการพัฒนาตนเองเป็นส�าคัญ
              กล่าวให้สั้น ๆ ก็คือ การเรียน การศึกษา การแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง การตั้งตัว

              ให้เป็นหลักเป็นฐาน การเลี้ยงดูบุตรหลาน ภรรยาสามี บ่าวไพร่ให้เป็นสุข ทั้งนี้ก็เพื่อ

              ความอยู่ดีกินดีจะได้อยู่ไม่ร้อนนอนไม่ทุกข์

                      บุคคลจะประสบผลิตผลดังกล่าวได้ ท่านว่า จ�าต้องท่องคาถาหัวใจเศรษฐีคือ “อุ อา
              กะ สะ” ให้ขึ้นใจให้ช�่าชองคล่องปาก ศึกษาให้เข้าใจ และเมื่อรู้ความหมายแล้ว ก็ตั้งใจ

              ประพฤติปฏิบัติตามด้วยดี เมื่อเป็นเช่นนี้ ความอยู่ดีกินดีก็จะบังเกิดมีอย่างแน่นอน

              โดยไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าท่านทั้งหลาย เพียงสนใจท่อง แต่ไม่สนใจท�า ก็จะได้แต่เพียงความจ�า

              ไม่สามารถที่จะท�าให้อยู่ดีกินดีได้ ไม่มีใครจะอยู่ดีกินดีได้เพียงท่องคาถา แต่โบราณท่านให้
              ภาวนาแล้วมุ่งแนวประพฤติปฏิบัติเป็นส�าคัญ อย่างค�าแรก คือ







                                                                                                37
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48