Page 44 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 44

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



                  ๑. “อุ” ก็มาจากค�าว่า “อุฏฐานสัมปทา” แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความหมั่น

          “อุฏฐานะ” แปลว่า การลุกขึ้น ตรงกันข้ามกับการนอน “นอนนานงานน้อย ใช้บ่อยจึงหมด”
          การลุกขึ้นท�าการงาน ก็หมายถึง ความหมั่นความขยัน กล่าวคือ ไม่เกียจคร้าน คนเกียจคร้าน

          ก็คือ คนที่เอาแต่นอน อ้างหนาว อ้างร้อน อ้างหิวกระหาย เช้า - สาย - บ่าย - เย็น แล้วก็

          ไม่ยอมท�างาน เขาว่า “คนเกียจคร้านเกิดมาเปนกาฝากสังคม” ยิ่งถ้าเกิดมาบนกองเงินกองทอง

          ด้วยแล้ว ยิ่งถูกความรวยความมั่งมีมอมเมาให้เพลิน อาจจะกลายเป็นคนเสียคนได้เรียกว่า
          เห็นงานยาก งานหนัก งานใหญ่ เป็นของเหลือวิสัย แม้งานง่าย ๆ งานเล็ก ๆ งานน้อย ๆ

          ก็เห็นว่า เป็นงานหนัก สุดท้ายก็กลายเป็นคนงอมืองอเท้า ไม่ท�าอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน

          เรียกว่า ชอบแต่ความสะดวกความสบาย คอยเลี่ยงคอยหลบที่ยาก หนาวก็นอน ร้อนก็หนี

          หลบที่หนักไปหาที่เบาหวังแต่ความสุข ไม่นึกถึงความทุกข์อันจะตามมา เป็นคนชอบผล
          แต่เบื่อจะกระท�าเหตุ เมื่ออยู่ในวัยที่อาศัยพ่อแม่ ก็อาศัยแบบกาฝากอาศัยต้นไม้ ธรรมดา

          กาฝากเพียงแต่เกาะกินต้นไม้ที่อาศัยฝายเดียว ไม่หยั่งรากโอบอุ้มต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่และไม่

          ปล่อยรากลงสู่พื้นดินเพื่อที่จะตั้งตัว เมื่อต้นไม้ที่ตนอาศัยตาย ตนเองก็พลอยตายตามไปด้วย

          ส่วนคนขยันท่านจัดว่า เป็นคนรักงาน ถืองานเป็นชีวิต จึงมุ่งมั่นท�างาน สู้ยากก่อนเพื่อง่ายในภายหลัง
          ฝาทุกข์ไปสู่ความสุขข้างหน้า กล้าต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการ เมื่ออยู่ในวัยที่ต้องอาศัย

          พ่อแม่ ย่อมอาศัยอยู่ดุจไม้ไทรอาศัยไม้อื่นอยู่ ท่านว่า ธรรมดาไม้ไทรเมื่ออาศัยต้นไม้อื่น

          ก็จะพยายามหยั่งรากโอบอุ้มต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่ และก็จะปล่อยรากจนตั้งตัวได้ เมื่อต้นไม้

          ที่ตนอาศัยตาย แต่ตนเองหาตายตามไปไม่ คนที่มีนิสัยหมั่นขยันก็ฉันนั้นเหมือนกัน
          ขณะอาศัยพ่อแม่ก็เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาท พยายามศึกษาเล่าเรียนและท�างานแบบว่า

          อย่างหนักเอาเบาสู้ เพราะยึดภาษิตสอนใจไว้ว่า “ปูไม่มีหัวต้วมเตี้ยมมันพาตัวไปได้ งูไม่มีตีน

          ปายปีนต้นไม้ได้ ไก่ไม่มีถันมันเลี้ยงลูกใหญ่สืบพืชพันธุ์ให้เราได้ คนเราทั้งสิ้นอย่าหมิ่นลบคม

          ชายชาติอุดมอาจมีได้ บางคนยากไร้เมื่อได้เสาะหาตั้งตัวได้มาเห็นอยู่มากมาย” การท�างาน
          ทุกสาขาอาชีพด้วยความหมั่นขยัน เรียกว่า มีความบากบั่นไม่ทอดธุระเปนลักษณะของ

          “อุ” ที่เรียกว่า “อุฏฐานสัมปทา”

                  ๒. “อา” มาจากค�าว่า “อารักขสัมปทา” แปลว่า ถึงพร้อมด้วยการรักษา ตามหลัก

          ทางศาสนาก�าหนดให้รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ ไม่ใช่ว่าได้มาเท่าไรก็จ่ายไปทั้งหมด
          ยังมีส�านวนพูดว่า “รายได้ไม่ส�าคัญเท่ากับรายเหลือ บางคนมีรายได้เปนจ�านวนมากขาด

          แต่ยังไม่มีส่วนเหลือ บางคนมีรายได้ไม่มากแต่ยังมีส่วนเหลือ” การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ




        38
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49