Page 46 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 46

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          ท�าในลักษณะที่ว่า “เห็นช้างขี้ก็จะขี้เอาอย่างช้าง” ควรจะด�ารงชีวิตตามควรแก่ฐานะของตน

          ไม่ให้ฝดเคืองจนเกินไป และก็ไม่ให้ฟุมเฟอยจนเกินฐานะของตนเอง เรียกว่า ให้รู้จักประมาณ
          “มัญตัญุตา สทา สาธุ” เพราะการรู้จักประมาณให้ส�าเร็จประโยชน์ทุกเมื่อ “ถ้าแคบนัก

          มักคับขยับยาก ถ้ากว้างมากไม่มีอะไรจะใส่สม ถ้าสูงนักมักจะลอยไปตามลม ถ้าต�่านัก

          มักจมลงบาดาล” นี้คือ “ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปจจุบันที่ท่านทั้งหลาย

          จะต้องน�าไปประพฤติปฏิบัติให้ได้”
                  ข้อต่อมา คือ “สัมปรายิกัตถะประโยชน์ ก็คือ ประโยชน์ในภายภาคหน้า” เมื่อเรารู้

          ประโยชน์ในปัจจุบันแล้ว เราก็มาดูประโยชน์ในภายภาคหน้าว่ามีอะไรบ้าง ค�าว่า ภายภาคหน้า

          เป็นระบบคุณธรรมที่จะอ�านวยผลสืบเนื่องไปถึงภพหน้า ชาติหน้า คือ หมายความว่า

          ทรัพย์สมบัติทั้งหมด ที่มนุษย์ใช้ความเพียรพยายามหามาในปัจจุบันนั้น ย่อมเป็นปัจจัย
          เอื้ออ�านวยช่วยให้มีความสุขในชีวิตปัจจุบันเท่านั้น เมื่อตายแล้วทุกอย่างต้องทอดทิ้งไว้ในโลกนี้

          ไม่มีใครสามารถจะน�าติดตัวไปได้ ดังในค�าที่ว่า “ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ มีเพียงแต่ต้นทุน

          บุญกุศล ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน แม้ร่างตนเขายังเอาไปเผาไฟ” ในการเป็นอยู่

          มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตเพียงช่วงเดียว หรือว่าชาติเดียวเท่านั้น ตราบใดที่ท่านทั้งหลายยังมีกิเลส
          เป็นเหตุให้ท�ากรรม เมื่อท�ากรรมแล้วก็ย่อมได้รับผลของกรรม ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด

          เป็นวังวนอยู่ในวัฏฏจักรหรือสังสารวัฏร�่าไป โดยนัยยะนี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า

          จึงทรงแสดง สัมปรายิกัตถะประโยชน์ ไว้ เพื่อให้บุคคลได้พัฒนาชีวิต และยกระดับจิตของตัวเอง

          ให้สูงขึ้น โดยเน้นถึงความปลอดภัยของตนเองและสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้ง พระองค์ให้
          ประพฤติปฏิบัติหลักธรรมดังนี้

                  ประการแรก ก็คือ “สัทธาสัมปทา” ความถึงพร้อมด้วยศรัทธาเสียก่อน คือ

          ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อในหลัก ๔ ประการ คือ

                  ๑) กัมมสัทธา เชื่อในความมีอยู่ของกรรม ซึ่งหมายถึง เจตนาที่บุคคลกระท�า
          ทั้งดีและไม่ดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ

                  ๒) วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม คือ บุคคลกระท�ากรรมแล้ว ผลของกรรม

          จะต้องเกิดขึ้นตามสมควรแก่เหตุ ถ้าท�าเหตุดีผลก็ดี ท�าเหตุชั่วผลก็ชั่ว

                  ๓) กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายเปนผู้มีกรรมเปนของ ๆ ตน ต้องรับผล
          ของกรรม มีกรรมเป็นก�าเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครท�ากรรมอันใดไว้

          ดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นอย่างแน่นอน




        40
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51