Page 16 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 16

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          นั่งสมาธิอบรมจิตหายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” ก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นการภาวนา

          นั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรงด�ารงสติให้มั่น นี้เรียกว่า รูปแบบ
          แต่ความจริงแล้ว อยู่ที่จิตทั้งหมด ถ้าจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน อย่าให้จิตไปในที่อื่น

          ให้อยู่กับเนื้อกับตัว คือ อย่าปล่อยให้จิตไหลไปสู่อ�านาจสิ่งอื่น ก็คือ ภาวนาเช่นเดียวกัน คือ

          ให้จิตของเราอยู่กับเนื้อกับตัว และก็อย่าให้จิตนี้ อย่าให้โลภ อย่าให้โกรธ อย่าให้หลง คือ

          ท�าจิตให้เป็นบุญ แล้วการภาวนานี้ คือ การท�าบุญด้วยใจ ท�าจิตใจให้เป็นบุญนั้นเอง ฉะนั้น
          ก็ควรที่จะสนใจให้มาก เพราะบุญกุศลที่เกิดนี้เกิดจากจิต เพราะถ้าจิตไม่เป็นบุญแล้ว

          เราจะแผ่บุญกุศลนี้ไปให้ใคร ก็แผ่ไปไม่ได้ไม่มีสิ่งใดจะให้เขา อย่างเราจะพูดออกไปว่า

          ฉันจะให้สิ่งนี้แก่คุณ แต่เมื่อเขามารับของที่จะให้มันไม่มี พูดเฉพาะปากอย่างนี้ก็เป็นการพูดเท็จ

          ต่อวิญญาณทั้งหลายที่จะมารับส่วนบุญส่วนกุศล ฉะนั้นจึงท�าจิตใจของเราให้เป็นบุญให้ได้
          แล้วเราจะแผ่บุญกุศลนี้ ให้ไปไม่รู้จักหมดจักสิ้น การท�าบุญแต่ละครั้งอย่าไปหวงแหนว่า

          ใครจะมาแย่งบุญเราไปได้ ให้เขามาร่วมด้วยก็ดี บุญกุศลนี้ไม่ได้หมดไปจากเรา ใครท�าใครได้

          อย่างเรามีประทีปดวงหนึ่ง มีแสงสว่างโชติช่วง เพื่อนจะมาขอร่วมด้วยขอจุดด้วย เราก็ให้

          เขาไปเลยให้เขาจุดได้ด้วย ดวงไฟแสงสว่างของเราไม่ได้ลดน้อยลง ยังคงอยู่เหมือนเดิม
          บุญกุศลที่เราให้ไปไม่ได้หมดไปไหน ยังอยู่กับเราเหมือนเดิม ให้มีน�้าใจกว้างขวางเช่นนี้เรียกว่า

          ให้เพื่อประสานน�้าใจแก่บุคคลอื่น เพื่อเป็นบุญกุศลที่เราไม่ตระหนี่ความดีต่าง ๆ คนที่มาขอ

          อนุโมทนาบุญก็เช่นเดียวกัน เขายินดีกับเรา เขายกย่องเรา พลอยยินดีด้วยที่เรามาท�าบุญท�ากุศล

          เราควรจะแผ่ส่วนบุญให้แก่เขาไปด้วย ควรจะอนุโมทนาบุญกุศลนี้ด้วย เขาจะได้รับว่า “สาธุ”
          ด้วยความเต็มใจ ที่เรียกว่า เป็นภาวนามัยทั้งหมด คือ  บุญเกิดขึ้นด้วยการภาวนา

          ภาวนามี ๒ อย่าง คือ

                     ๑. สมถะภาวนา คือ จิตใจเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง กระทั่งจิตนี้หนักแน่นมั่นคง

          จะเอา “พุทโธ” หรือลมหายใจเข้าออก มาระลึกนึกอยู่ภายในใจจนจิตใจสงบนิ่ง เรียกว่า
          สมถะภาวนา

                     ๒. วิปสสนาภาวนา วิปัสสนานี้ต้องอาศัยปัญญามาเพ่งรูป เพ่งนาม รูปนาม

          หรือขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ฉะนั้นเมื่อเราเพ่งแล้วพิจารณาแล้วให้เห็นว่า ขันธ์ ๕

          เกิด - ดับ, เกิด - ดับ ตั้งอยู่ดับไป คือ ตัวอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง คือ ทั้งเป็นทุกข์และ
          หาตัวตนสิ่งใดที่จะห้ามปรามได้ไม่มี ไม่อยู่ในอ�านาจของใครทั้งหมด อย่าแก่มันก็แก่ อย่าเจ็บ

          มันก็เจ็บ อย่าตายมันก็ตาย เรียกว่า ไม่เชื่อฟัง เมื่อเป็นดั่งนี้แล้ว ท�าอย่างไร ท่านให้ปล่อยวาง




        10
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21