Page 20 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 20
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
วจีทุจริต ๔ ประการ คือ ไม่พูดสอดเสียด, ไม่พูดปด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดค�าหยาบ
มโนทุจริตมี ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย, ไม่พยาบาท, ไม่หลงผิดจากครรลองคลองธรรม
๓. บุญส�าเร็จด้วยการภาวนา คือ การอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่หยาบไป
จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น โดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม
จนท�าให้เรานั้นได้พบอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ และมรรค เป็นทางให้ถึงความพ้นทุกข์
บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด
๔. บุญส�าเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่รู้ทางเจริญและทางเสื่อม
คือ การให้ความเคารพต่อผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณมีอยู่ ๓ ประเภท คือ ผู้มีวัยวุฒิ ได้แก่ พ่อแม่
ญาติพี่น้อง และผู้สูงอายุ ผู้มีคุณวุฒิ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มีชาติวุฒิ
ได้แก่ พระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์
๕. บุญส�าเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการงานที่ชอบ คือ การกระท�าสิ่งที่เป็น
คุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อตนและส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น
การชักน�าบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน มีศีล รู้จักภาวนา เป็นต้น
๖. บุญส�าเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ คือ การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้กระท�า
ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาบุญด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์
ได้ทราบข่าว การบุญการกุศลที่เราได้กระท�าไป
๗. บุญส�าเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่นกล่าวว่า “สาธุ”
เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดีและขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่า เราไม่มี
โอกาสได้กระท�า ก็ขอให้ได้มีโอกาส ได้แสดงความรับรู้ด้วยใจ ด้วยความปีติยินดีทั้งหลาย
ในบุญกุศลนั้น บุญผลบุญก็จะเกิดขึ้นแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาในครั้งนั้นด้วย
๘. บุญส�าเร็จได้ด้วยการฟงธรรม คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
หรือที่เคยได้ฟังแล้ว ก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและ
ท�าความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ ความพยายามน�าความรู้ และธรรมะนั้น
น�าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางแห่งความเจริญต่อไป
๙. บุญส�าเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม คือ การแสดงธรรม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ
ของการกระท�าหรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ด้วยใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยของ
องค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการน�าธรรมไปขัดเกลากิเลส
14