Page 15 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 15
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
๑. เราไม่ฆ่าสัตว์ เราต้องมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย
๒. เราไม่ลักทรัพย์ เราต้องมีสัมมาอาชีพเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
๓. เราไม่ประพฤติผิดในกาม เราต้องมีสัจจะซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตน
๔. เราไม่พูดเท็จ เราต้องมีสัจจะแสดงความจริงใจทางด้านวาจา คือ ให้เป็นที่
เชื่อถือได้
๕. เราไม่ดื่มสุราและเมรัยเปนที่ตั้งแห่งความประมาท เราต้องมีสติระลึกได้
สัมปชัญญะความรู้ตัวเป็นเครื่องคุ้มครอง
เมื่อเรามีศีล ๕ มีคุณธรรมทั้ง ๕ ก�ากับอยู่กับศีลทุกข้ออย่างนี้ เรียกว่า
เรามี มนุษยธรรม คือ ธรรมส�าหรับมนุษย์ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติกันให้โลกอยู่เย็นเปนสุข
ฉะนั้นเราต้องประพฤติปฏิบัติรักษาให้ดี การรักษาศีลนี้ ต้องระมัดระวังอย่าให้ผิดพลาด
ท่านบอกว่า ให้เหมือนนกต้อยตีวิดที่รักษาฟองไข่ หรือว่า คนที่มีตาข้างเดียวและอีกข้างหนึ่ง
ไม่บอดก็พยายามระมัดระวังตาที่ดีอย่าให้มันบอดซ�้าเข้าไปอีก เหมือนนกยูงที่รักษาแวว
หางของมันต้องมีความรักต่อศีล ถ้าท�าได้อย่างนี้แล้ว ศีลจะไม่ด่างไม่พร้อย ฉะนั้นต้องตั้งใจ
เบื้องต้นเรารักษาศีลเหมือนกับว่า เราปลูกต้นไม้ เบื้องแรกเราก็ขุดหลุมพรวนดินให้ดี เอาต้นไม้
ลงรดน�้าใส่ปุยคอยดูแลอยู่เสมอ เอาใจใส่จนต้นไม้นั้น มันเลี้ยงตัวเองได้ มันก็ให้ร่มเงา
เราก็สบายใจแล้ว ต้นไม้ให้ดอก ให้ผล มีลูกออกมา มันก็เลี้ยงเจ้าของที่เลี้ยงมัน ให้ผลแก่เจ้าของ
ฉะนั้นเจ้าของสวนเขาก็อยู่ได้ ฉันใดก็ดี การรักษาศีลในเบื้องต้น เราก็ต้องระมัดระวังมาก
พอรักษาไปได้ดีแล้ว ศีลอยู่กับเนื้อกับตัว เราเรียกกันว่า ศีลจะรักษาเรา ผู้ประพฤติปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ท�าให้ปราศจากเวรภัย อยู่เย็นเป็นสุข ท้ายศีลก็มีว่า “สีเลนะ สุคะติง ยันติ
จะมีสุขได้ก็เพราะศีล” “สีเลนะ โภคะสัมปะทา จะมีโภคทรัพย์สมบัติได้ก็เพราะมีศีล” “สีเลนะ
นิพพุติง ยันติ จะดับทุกข์ดับร้อนได้ก็อาศัยศีล หรือจะไปพระนิพพานได้ก็ต้องอาศัยศีล”
“ตัสมา สีลัง วิโสทะเย เพราะเหตุนั้นจงช�าระศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่องดังนี้” นี้เรียกว่า “สีลมัย”
๓. ภาวนามัย บุญส�าเร็จด้วยการเจริญภาวนา ค�าว่า ภาวนา คือ ท�าจิตใจของเรา
ไม่ให้ตกต�่า ไม่ให้ไหลไปสู่ความชั่ว เราเรียกว่า บ�าเพ็ญจิตตภาวนา แม้เรายกมือขึ้นไหว้พระ
จบครั้งแรกหรือครั้งสอง ครั้งสาม เราก็ภาวนาในใจนึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จิตของ
เราก็บริสุทธิ์ บริบูรณ์นี้ เรียกว่า จิตของเราได้ภาวนาแล้ว แม้ในระยะกาลสั้น ๆ เพียงแค่นั้น
จิตเราก็เป็นบุญแล้ว ดังนี้เป็นต้น การท�าจิตใจของเราไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จิตนั้น
จะผ่องใสบริสุทธิ์ เอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ เราเรียกกันว่า จิตตภาวนา เช่นเดียวกัน แม้บุคคลที่มา
9