Page 14 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 14

ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓



          ท�าจิตใจของเราให้ชื่นบาน เมื่อทานของเราประกอบด้วย ๓ กาล ก่อนให้ ก�าลังให้และให้ไปแล้ว

          อย่างนี้บริสุทธิ์ ทานนั้นจะมีผลมาก
                 ๓. บุคคลที่จะรับทาน บุคคลนั้น จะต้องเป็นบุคคลมีศีลด้วย คือ มีธรรมประจ�าใจด้วย

          จึงจะมีผลมาก แม้จะรับทานก็ไม่ได้รับด้วยความโลภ ไม่ได้มีความโกรธ ความหลง ท�าจิตใจ

          ให้ปราศจาก โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ก็ชื่อว่า ท�าจิตใจให้เป็นเนื้อนาบุญ บุญนั้น ก็จะ

          มีผลมาก มีอานิสงส์มากเช่นเดียวกัน นี้เรียกว่า หน้าที่ของทายกกับหน้าที่ของปฏิคาหก คือ
          ทั้งผู้ให้และผู้รับ ดังนี้เป็นต้น

                  การที่ดังกล่าวมานี้ ตามหลักพระพุทธศาสนา เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ คือ สิ่งที่เป็นที่ตั้ง

          ของการบ�าเพ็ญบุญกล่าวไว้ถึง ๑๐ ประการ แต่จะกล่าวเพียง ๓ ประการ คือ

                  ๑. ทานมัย บุญส�าเร็จด้วยการบริจาคทาน คือ การแบ่งสันปันส่วน ที่เราให้ด้วย
          ความเมตตาสงเคราะห์ก็ดี ให้บิดามารดาเพื่อความกตัญูกตเวทีก็ดี ให้เพื่อนทุกข์ยาก

          เป็นทานสงเคราะห์ก็ดี จัดเป็นทานทั้งหมด นี้เรียกว่า เป็นส่วนของอามิสทานจะมากหรือน้อย

          ตามมีตามเกิด เป็นวัตถุทานหรืออามิสทาน ส่วนการให้ธรรมทานนั้น คือ แนะน�าพร�่าสอน

          อะไรดี อะไรชั่ว ชี้แจงให้บุคคลเขาเห็นนี้เรียกว่า ให้ธรรมทาน อย่างบิดามารดาสอนลูกสอนหลาน
          ให้เว้นจากความชั่ว ให้ท�าความดี เรียกว่า เป็นธรรมทาน ไม่ได้หมายว่า ต้องขึ้นธรรมมาสน์เทศน์

          อย่างพระไม่จ�าเป็นถึงอย่างนั้น ส่วนอภัยทาน คือ ให้ความไม่โกรธ ให้อภัย ไม่ถือโทษ

          โกรธเคือง นี้เป็นอภัยทาน เป็นการแสดงออกถึงน�้าใจ คือ น�้าใจกว้างขวาง ใครมาขอโทษก็ให้อภัยได้

          ผู้ที่ขอโทษถ้าท�าผิดอะไร ก็ควรจะรับผิด การรับผิดแสดงถึงความรับผิดชอบ คือ ส�านึกชั่วดี
          ต่าง ๆ ได้ ไม่น่าจะอับอายอะไร ส่วนการขอโทษก็ไม่ควรที่จะโกรธเคือง การให้อภัยโทษ

          มันเป็นของที่ไม่สิ้นเปลืองพอที่จะท�ากันได้ ทั้งผู้ให้และผู้รับเพื่อผูกไมตรีกันด้วย

                  ๒. สีลมัย บุญส�าเร็จด้วยการรักษาศีล คือ ส�ารวมกาย วาจา ให้เรียบร้อย

          ตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีที่ประพฤติปฏิบัติดีงามเกี่ยวกับมารยาท มารยาทนี้เป็น
          ตัวศีล บุคคลที่ไม่มีมารยาทดีเขาก็รู้ว่า บุคคลนี้ไม่มีศีล ไม่มีมารยาทและก็ประพฤติปฏิบัติ

          เบียดเบียนบุคคลอื่น ก็ยิ่งชั่วร้ายซ�้าเข้าไปอีก ฉะนั้นกิริยาวาจาเป็นเครื่องแสดงออกถึง

          ความดี ความชั่ว ในตัวของบุคคลนั้นดังนี้เป็นต้น ศีลที่ท่านรักษาจะเป็นศีล ๕ ก็ได้ ศีล ๘

          ก็ได้ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ตามก�าลังจิตของเราที่พอที่จะรักษาได้ หรือประพฤติปฏิบัติได้ก็ให้ท�า
          ไปตามนั้น อย่างศีล ๕ ที่ได้รณรงค์กันอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ







         8
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19