Page 9 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 9
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
การบูชาถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพราะการที่พวกเราชาวพุทธได้มีพระพุทธศาสนาที่นับถือไว้เป็นมิ่งขวัญของชีวิตสืบต่อกันมา
เป็นเวลาที่ช้านานจนถึงทุกวันนี้เพราะว่า ได้มีพระพุทธเจ้า มีหลักธรรมค�าสอนและก็มีพระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้น�าค�าสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาสั่งสอนประชาชน
หากว่า ไม่มีพระสงฆ์ซึ่งเป็นศาสนทายาทสืบต่อพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็คงไม่ยืนยาว
จนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นการที่ญาติโยมทั้งหลาย มาท�าบุญถวายทานแด่ พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงจัดว่า เป็นการบูชาคุณความดีของท่านและการที่ให้ก�าลังแก่พระสงฆ์
ให้ด�ารงชีวิตอยู่บวชเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
นอกจากอาศัยอาหารของชาวบ้านมาเลี้ยงชีวิตเท่านั้น การที่ญาติโยมได้จัดข้าวกระยาสารท
ซึ่งเป็นอาหารวิเศษ ที่จัดขึ้นในเทศกาลเดือน ๑๐ นี้ มาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ จึงจัดว่า
เป็นการท�าบุญให้พระสงฆ์นั้น ได้ฉันภัตตาหารเป็นพิเศษ เป็นการเพิ่มพลังแก่ท่านดังที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “อนฺนโท พลโท โหติ” แปลว่า “ผู้ให้ข้าวน�้าจัดว่าเปน
ผู้ให้ก�าลัง” ดังนี้ ส�าหรับข้าวกระยาสารทนี้ นอกจากจะเป็นอาหารแล้วยังจัดว่า เป็นเภสัช
บ�าบัดโรคในฤดูกาลสารทนี้ ดังมีเรื่องเล่าใน คัมภีร์เภสัชชธันธกะ ในวินัยปฎก ในครั้งพุทธกาล
พระภิกษุเกิดอาพาธ เรียกว่า “สารทิกาพาธ” แปลว่า “เกิดโรคในฤดูสารท” อาการ
ที่เป็นโรคนี้ คือ ฉันอาหารแล้วก็อาเจียนออกหมด ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็เกิดโรคนี้เหมือนกัน
ท�าให้ร่างกายซูดผอมหน้าตาก็เศร้าหมองสิ้นแรง พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบ ทรงด�าริหายา
ที่เป็นทั้งอาหารเป็นทั้งยา ได้แก่ เภสัช ๕ คือ
๑. เนยใส
๒. เนยข้น
๓. น�้ามัน
๔. น�้าผึ้ง
๕. น�้าอ้อย
จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ ฉันเภสัชทั้ง ๕ เหล่านี้ นอกเวลาฉันภัตตาหารได้
คือ ตั้งแต่เที่ยงไปแล้วสามารถฉันได้ ปรากฏภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้ฉันเภสัช ๕ อย่างนี้แล้ว
ก็หายจากโรคฤดูสารทนั้นเอง เพราะฉะนั้น ขอฝากท่านพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปให้ฉัน
ข้าวกระยาสารทเยอะ ๆ เพราะเป็นยาเป็นการบ�ารุงก�าลัง เมื่อท่านทั้งหลายได้ท�าบุญถวายทาน
แด่พระภิกษุสงฆ์โดยปรารภข้าวกระยาสารทเป็นส�าคัญนี้ จัดว่าเป็นการบูชาถึงพระพุทธเจ้า
3