Page 7 - ธรรมะจากธรรมาสน์ เล่ม ๓
P. 7
ธรรมะจากธรรมาสน เลม ๓
ปุญญกถา
แสดงโดย พระสมุหธรรมนูญ ธมฺมชโย วัดปุรณาวาส
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
วันเสารที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
สุโข ปฺุญสฺส อุจฺจโยติ.
ณ บัดนี้จะแสดงพระธรรมเทศนา เรื่องการท�าบุญในวันสารทเพื่อฉลองศรัทธา
และประดับสติปัญญาของท่านศาสนิกชนทั้งหลาย ด้วยวันนี้ได้พากันมาท�าบุญถวายทาน
ในวันเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๕ ค�่า เดือน ๑๐ ในเบื้องต้น อาตมาจะได้
พรรณนาประวัติความเป็นมาในการท�าบุญวันสารทและในโอกาสต่อไปจะได้แสดงถึงอานิสงส์
แห่งการท�าบุญวันสารท ขอท่านสาธุชนได้โปรดสดับรับฟังพระธรรมเทศนาในอาการสงบ
ตามวาระที่จะกล่าวสืบต่อไป
ทั้งนี้ค�าว่า “สารท” นั้น เป็นภาษาบาลี แปลว่า “สะระณะ” เป็นชื่อของฤดูใบไม้ผลิ
ในประเทศอินเดีย ซึ่งตรงกับเดือน ๑๐ ของไทย ในฤดูนี้เป็นระยะที่ข้าวในนาก�าลังออกรวง
อ่อน ๆ ประชาชนในอินเดียผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ก่อนพุทธกาลได้นิยมเอารวงข้าวมาท�าข้าว
มธุปายาสและท�าข้าวกระยาคู ท�าบุญเลี้ยงพราหมณ์ ซึ่งเป็นพระในศาสนาของตน การท�าบุญ
ด้วยการเอารวงข้าวอ่อนมาท�าเป็นอาหารในเทศกาลสารทของชาวอินเดีย ผู้นับถือศาสนา
พราหมณ์ มีความมุ่งหมายให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาและพร้อมกับทั้งอุทิศบุญกุศล
ให้แก่บุพเปรตชนผู้ล่วงลับไปแล้ว การท�าบุญวันสารทนี้ จึงเป็นคตินิยมของศาสนาพราหมณ์
มาตั้งแต่ก่อนพระพุทธศาสนาของเรา เมื่อพระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นในโลกประกาศ
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย ชาวอินเดียผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ ได้หันมานับถือ
พระพุทธศาสนาจ�านวนมาก เมื่อถึงฤดูสารทก็เอารวงข้าวมาท�าข้าวมธุปายาสกับข้าวยาคู
ถวายแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาแทนพวกพราหมณ์ ครั้นต่อมา
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่มาถึงเมืองไทย ชาวไทยเรานั้นก็ถือว่า พระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาประจ�าชาติและได้น�าประเพณีการท�าบุญฤดูสารทนี้ของชาวอินเดียมาเป็นประเพณี
ท�าบุญวันสารท ทั้งนี้ภาคกลางเราเขาก็เรียกว่า การท�าบุญวันสารท ส่วนภาคใต้เขาก็เรียกว่า
1